ข่าวการลงนาม MOU ระหว่างบึงกาฬ ไทย กับ อินเดีย

ข่าวการลงนาม MOU ระหว่างบึงกาฬ ไทย กับ อินเดีย

เมื่อวานนี้หลายๆ คนคงจะได้รับทราบข่าวดีกันไปแล้วนะครับว่า ได้มีการ  ลงนาม MOU กันของจังหวัดบึงกาฬแบะบริษัทจากอินเดีย ที่จะกระตุ้นให้มีการรับซื้อยาง ปีละ 1 แสนตัน โดยประมาณ หากข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นไปได้ตามนี้ คาดว่าน่าจะกระตุ้นราคายางพารา ในประเทศไทยได้ไม่น้อยเช่นเดียวกัน ลองดูเนื้อหาข่าวนะครับ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 กันยายน ที่จังหวัดบึงกาฬ มีการลงนามเอ็มโอยู หนังสือแสดงความจำนง (Letter of intent) ระหว่างประเทศไทยเเละประเทศอินเดีย โดยมี ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย, นางกุสุมา หงษ์ชูตา ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ เเละ Mr.Deepak Chaddha ประธานบริษัท Chowdhry Rubber & Chemical Pvt.Ltd, ประเทศอินเดีย ร่วมลงนาม และมีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนเเละส่งเสริมความสัมพันธ์, นายชัยธวัช เนียมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ร่วมเป็นสักขีพยาน


ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะนักธุรกิจยางพาราจากอินเดียให้ความสนใจในการลงพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางหลักรองจากภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.บึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดในภาคอีสาน ประมาณ 6.9 แสนไร่ ดังนั้นจึงมีการพบปะระหว่างนักธุรกิจอินเดียกับผู้ประกอบการไทยเเละมีการลงนามร่วมกันในหนังสือเเสดงความจำนงในการซื้อยาง

ดร.ธีธัชกล่าวว่า บทบาทของการยางแห่งประเทศไทยจะเน้นการเปิดตลาดยางใหม่และไม่ไปแทรกแซงตลาดหรือขายผลผลิตแข่งกับใคร การเชิญนักธุรกิจจากประเทศผู้ซื้ออันดับต้นๆ ของโลกเป็นโอกาสในการสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับวงการยางพาราไทยมากขึ้น ซึ่งนักธุรกิจกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง เช่นบริษัท MRF มีกําลังการซื้อประมาณ 1 เเสนตันต่อปี เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่ประเทศไทยจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจต่างชาติคือปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน จากผลการแลกเปลี่ยนในพื้นที่ภาคใต้ที่ผ่านมาสิ่งที่นักธุรกิจให้ความเห็นคือคุณภาพของยางไทย

“จะปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของยางไทยอย่างไรต่อไป ซึ่งจะต้องร่วมมือทุกฝ่ายทั้งเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการในการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยางพาราไทย นอกจากนี้ หลังเกิดกระแสปัญหากรดซัลฟิวริกในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาของพื้นที่ภาคอีสาน กิจกรรมนี้นับว่าจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และย้ำเตือนว่าประเทศผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลกมีความสนใจ และพร้อมที่จะรับซื้อยางไม่ว่าจะภาคไหนของประเทศไทย แสดงว่าเราสร้างความเชื่อมั่นและผลิตยางได้คุณภาพมาตรฐานตามที่เขาต้องการ เพราะกลุ่มนักธุรกิจที่มามีทั้งกลุ่มผลิตภัณท์อุตสาหกรรมล้อยาง และอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ล้อยาง เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น บางส่วนก็ยังต้องการยางแท่ง STR บางส่วนก็ต้องการยางลูกขุน และยางแผ่นรมควัน เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทย และศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรสามารถที่จะจับคู่ธุรกิจได้ และ กยท.จะปรับบทบาทมาเป็นหน่วยงานที่จะสามารถรับรองคุณภาพของยางจากเกษตรกรเพื่อให้เป็นที่เชื่อมั่นของผู้ซื้อได้ว่า ยางเหล่านี้เมื่อผ่านการรวบรวมจาก กยท.แล้วมีมาตรฐาน สามารถส่งมอบและลงนามในหนังสือแสดงความจำนงในการซื้อยางต่อไป” ดร.ธีธัชกล่าว

นายพินิจกล่าวว่า การมาเยือนของนักธุรกิจจากประเทศอินเดีย ต้องชื่นชม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำคณะไปเยือนประเทศอินเดีย เเละได้มีการเจรจาเรื่องการค้าระหว่างไทยกับอินเดีย ซึ่งมีเรื่องยางพาราอยู่ด้วย เเละคณะจากสถานทูตไทยประจำกรุงนิวเดลีได้ทำงานต่อเนื่อง นำคณะนักธุรกิจชาวอินเดีย 9 ท่านจาก 9 บริษัทชั้นนำมาเยือนประเทศไทย มีทั้งบริษัทล้อยางอันดับต้นๆ บริษัทอุตสาหกรรมต่อเนื่องเกี่ยวกับการใช้ยางพาราที่ใหญ่มาก

“ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์และก้าวสำคัญของ จ.บึงกาฬ ที่ผู้ประกอบการชาวอินเดียที่ได้มาเยือน ทุกฝ่ายก็มีความยินดี ในเรื่องของมิตรภาพเเละการต้อนรับของ จ.บึงกาฬ และได้เยี่ยมชมโรงงานเเละผู้ประกอบการในจังหวัด ซึ่งทางนักธุรกิจได้เห็นยางล้วนบอกว่าคุณภาพดี มีความมั่นใจสูง ก้าวต่อไปเราเองต้องแปรรูปวัตถุดิบให้มีมูลค่ามากขึ้น ตามที่รัฐบาลประกาศให้มีนวัตกรรม 4.0 ร่วมมือกับนานาชาติต่างๆ ซึ่งผมพยายามเชื่อมต่อให้กลุ่มเกษตรกรเข้าถึงนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีจากนักวิจัย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการยางเเห่งประเทศไทย”

นายพินิจกล่าวอีกว่า การลงนามครั้งนี้เป็นบันทึกเจตจำนงความต้องการการซื้อขายโดยตรงระหว่างอินเดียกับเกษตรกรชาวสวนยาง โดยทางอินเดียย้ำว่าจะต้องได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งการซื้อขายยางเริ่มต้นจะพยายามผลักดันต่อไปให้ได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน/ปี เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่มีการซื้อขายโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วยเกษตรกรเเละผู้ค้ารายย่อย SME ได้มากตามนโยบายรัฐบาล ที่อยากให้กลุ่มสหกรณ์ SME สามารถขับเคลื่อนไปได้

Mr.Deepak กล่าวว่า บริษัท Chowdhry Rubber & Chemical Pvt.Ltd, เป็นบริษัทซัพพลายนำเข้ายางพาราเพื่อส่งต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมพาร์ตเนอร์อีก 11 แห่งในประเทศอินเดีย ในครั้งนี้จะมีการลงนามความร่วมมือกับ จ.บึงกาฬเพื่อนำเข้ายางพารา ซึ่งขณะนี้มีความต้องการทั้งยางเครป ยางแผ่น และยางบล็อก และมีความต้องการน้ำหนักยางพาราที่ประมาณ 35 กก./ก้อน โดยใน 1 เดือนมีความต้องการยางประมาณ 200-300 ตันต่อ 1 บริษัท ซึ่งเป็นยางพาราปริมาณมาก

นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี กล่าวว่า ได้นําตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราอินเดียมาเยือนไทย ประกอบด้วยบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสมาคมผู้ผลิตยางล้อในประเทศอินเดีย (AutomotiveTyre Manufacturers Association-ATMA) และสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอินเดีย (All India Rubber Industries Association-AIRIA) เพื่อจัดให้มีกิจกรรมพบปะกับผู้ขายเเละผู้ประกอบการธุรกิจยางพาราของไทย รวมทั้งการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของธุรกิจยางพาราไทย

“ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการผลักดันเรื่องยางพารา โดยการเดินทางครั้งนี้เพื่อให้นักธุรกิจชาวอินเดียเห็นศักยภาพของยางพาราไทยทั้งระบบ ทั้งภาคใต้และภาคอีสาน โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อจับคู่ทางธุรกิจและส่งเสริมการส่งออกยางพาราไทยในรูปแบบต่างๆ เข้าสู่ตลาดอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอินเดียมีความต้องการนําเข้ายางธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยางพาราเพื่อรองรับกับความต้องการใช้ยางในด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

นายประชา ทรัพย์พิพัฒนา กรรมการผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด จ.ชลบุรี กล่าวว่า การมาร่วมเวทีเจรจาผู้ซื้อพบผู้ขายระหว่างประเทศไทยและคณะนักธุรกิจจากประเทศอินเดียโดยมีการยางแห่งประเทศไทยและสถานทูตไทยประจํากรุงนิวเดลีเป็นองค์กรหลัก ในการประสานงานครั้งนี้ นับเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกรยกระดับจากการดําเนินธุรกิจต้นน้ำ พัฒนาสู่กลางน้ำด้วยการแปรรูปผลผลิตของตัวเองให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสหกรณ์กองทุนสวนบ่อทองได้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นหลักในรูปแบบยางแผ่นอัดก้อนส่งประเทศจีนเเละไต้หวัน ซึ่งที่ผ่านมามีกำลังการผลิตประมาณเดือนละ 1,200 ตัน สำหรับประเทศไทยมีโรงงานรับซื้อไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนประกอบรถยนต์ อย่างมาสด้าหรือฟอร์ด เป็นต้น

นายประชากล่าวต่อว่า ตลาดยังคงมีความต้องการใช้ยางพาราอย่างต่อเนื่อง สหกรณ์กองทุนฯบ่อทองจึงมีการขยายกิจการ โดยการสร้างโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นยางแท่ง STR 20 คาดว่าจะรับซื้อยางก้อนถ้วยในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลักโดยกําลังการผลิตของโรงงานขั้นต่ำประมาณ 3,000 ตัน/เดือน เป้าหมายการเปิดตลาดใหม่ครั้งนี้เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันเกษตรกรกับสถาบันเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เพื่อนเกษตรกรชาวสวนยางด้วยกัน จะไม่มีการผูกขาด

“ล่าสุดสหกรณ์กองทุนฯบ่อทองตกลงกับสหกรณ์กองทุนฯหนองหัวช้าง จำกัด เพื่อรับซื้อผลผลิตยางก้อนถ้วยในการแปรรูปยางแท่ง STR 20 เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าในช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นไปจะร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย จ.บึงกาฬ เชิญผู้นำเกษตรกรของแต่ละพื้นที่ใน จ.บึงกาฬและในพื้นที่ภาคอีสานใกล้เคียงหารือร่วมกันในการรวบรวมผลผลิตยางก้อนถ้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเมื่อได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจจากอินเดียจะเป็นการเปิดโอกาสในการขยายหรือพัฒนาธุรกิจของสถาบันเกษตรสวนยางไทยต่อไป” นายประชากล่าว

ต่อมาเวลา 19.00 น. จ.บึงกาฬนำโดยนายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าฯบึงกาฬ จัดเลี้ยงต้อนรับนักธุรกิจ 9 ท่าน ได้เเก่ Mr.P.K Hari, Mr.Mohan Kurian , Mr.V.T Chandrashekharan , Mr.Muthuswamy Dhanara , Mr.M.K Mehta , Mr.Rahul Vachaspati , Mr.Vipan Mehta , Mr.Aseem Khanna เเละ Mr.Deepak Chaddha

ขอบคุณ: มติชนออนไลน์

จากข่าวนี้ แม้ว่าการซื้อขายจะเกิดขึ้นที่ จ.บึงกาฬ แต่ก็ช่วยให้ปริมาณ ยางพาราหายไปจากตลาดเยอะไม่น้อย จึงอาจจะเป็นอีกแรงกระตุ้นหนึ่งให้เกิดการแข่งขันกันซื้อ และราคา "น่าจะ" แพงมากขึ้นด้วย ตามดิมาน ซัพพลาย ของระบบเศร

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ข่าวการลงนาม MOU ระหว่างบึงกาฬ ไทย กับ อินเดีย"

แสดงความคิดเห็น