ลดต้นทุนในการทำการเกษตร

ลดต้นทุนในการทำการเกษตร 


เกษตรกรใช้ ปุ๋ย และ ยา ไม่เป็นก็ต้นทุนสูง

สาเหตุที่ต้องเขียนเรื่อง ลดต้นทุนในการทำการเกษตร อีกครั้ง ก็เนื่องจาก เช้าวันนี้มีเพื่อนชาวสวนด้วยกันนี่แหละนำเอาเครื่องพ่นยา (แบบโยก ราคา แปดร้อยกว่าบาท) มาคืน เพราะผมทวงถามไปเมื่อวานตอนเย็น แต่พอเขาเอามาคืน เราก็หมดอารมณ์ที่จะพ่นยาฆ่าหญ้าทันที

เกษตรกรรู้วิธีการลดต้นทุน
ภาพสวนยางพารา
นี่แหละคือต้นเรื่อง ผมจำได้ว่า อาจารย์บ้วน หรือ รองศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ บ้วนกิยาพันธุ์ ผู้ดำเนินรายการ "ทิดบ้วนชวนคุย" ท่านเคยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ ปุ๋ย และ ยา ว่าควรจะอ่านดูวิธีใช้ข้างขวดหรือข้างกล่อง และใช้ตามคำแนะนำนั้น ผมก็ทำตามนั้น ซึ่งก็ทำให้เรา ประหยัดทรัพยากร ไม่ต้องใช้มากเกินขนาด ทำให้สามารถใช้ได้หลายครั้งมากขึ้น (ส่วนตัวผมแล้วไม่มีปัญหาครับ เพราะจะตวง ชั่ง วัด ตามข้อบ่งใช้อยู่เสมอ)

ตอนที่เพื่อนมายืมเครื่องพ่นยา บอกว่าจะพ่นตอนเย็น ที่จริงตอนนั้นผมก็จะใช้เหมือนกัน แต่เมื่อเขาถามยืมก็ให้ไปคิดว่า พรุ่งนี้เช้าคงได้คืน แต่..อีกสามสี่วันถัดมาเขามาเยี่ยมอีก ก็ถามว่า พ่นยาฆ่าหญ้า หรือยัง คำตอบคือ "ยัง" บอกอีกว่า ยังไม่ได้ซื้อยา (ผมรู้ว่าเขาขัดสนเงินพอสมควร) เลยเอาขวด ยาฆ่าหญ้าชนิดดูดซึม ให้ไปและบอกว่า ไม่ต้องใส่เยอะเกินขนาดหรอกนะ รับรองตายเรียบ เขาก็บอกว่า ก็เทใส่เท่าฝานี่แหละ ผมก็ว่า นั่นมันมากเกินไป ใช้ได้เป็นไร่เลยนะ ผมว่า เอาแค่ขวดยา...(จำไม่ได้ ประมาณ 60 ซีซี) 2 ขวดก็ตายหมดแล้ว เขาว่า ครับ

เช้าวันนี้เขาเอามาคืนให้ ผมไม่เห็นนำนวด ยาฆ่าหญ้า มาด้วยเลยถาม เอ้าลืมขวดยาเหรอ เขาตอบยิ้มๆ ว่า ผมใช้หมดแล้ว ... ผมก็ไม่ว่าไร แต่ก็อดไม่ได้ที่จะบอกเป็นนัยะว่า

นั่นไง อาจารย์บ้วน ท่านถึงบอกว่า คนไทยชอบใช้ ปุ๋ย ใช้ ยา เกินปริมาณ ทำให้สูญเสียต้นทุนโดยใช่เหตุ แล้วก็เก็บเครื่องพ่นไว้ แล้วก็คุยสัพเพเหระกันไป

เคล็ดลับง่ายๆ ในการ ลดต้นทุน ด้านการเกษตร

แหม พูดถึงเรื่อง ลดต้นทุนในการทำการเกษตร  ก็ใส่หัวข้อซะโก้เลยว่า เคล็ดลับในการ ลดต้นทุน ว่างั้น ความจริงไม่มีอะไรมากครับ อยากบอกว่า "อย่าใช้ความรู้สึก มากกว่า ความเป็นจริง" ควรทำดังนี้
-ก่อนใช้ ปุ๋ย ยา ควรอ่านดูข้อแนะนำ
-ให้ทำตามสูตร หรือ คำแนะนำเหล่านั้น
-จำไว้ว่า ที่เขาแนะนำมานั้นคือ ได้ผลแน่นอนอยู่แล้ว
-ใช้การทำสวน นา แบบสวนผสมผสาน
-ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมี

การใช้ความรู้สึก จะทำให้ใช้ ปุ๋ย และ ยา อย่างผิดวิธี หรือ ใช้พร่ำเพรื่อ ทำให้เสียเงินเสียทองเกินเหตุ บางทีเรารู้สึกว่า "หญ้าหนาถ้าใส่ยาฆ่าหญ้าน้อย มันอาจจะไม่ตาย" เคยไม่ครับ อย่าเลย จำไว้เลยว่า ที่เขาแนะนำไว้นั่นถูกต้องแล้ว และเขาเผื่อไว้แล้วครับ

ต้นทุนการเกษตร ลดได้จะมีผลดีอย่างไร

รัฐบาลใดๆ ก็ส่งเสริมให้ ลดต้นทุนในการทำการเกษตร  เพราะหลักคิดง่ายๆ ว่า เมื่อจ่ายน้อย ก็เท่ากับว่าถ้าขายในราคาเท่ากันเราก็ได้กำไรเพิ่ม นั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เขาส่งเสริม และแนะนำให้ทำกันอย่างจริงจัง แต่.. คนเราปัจจุบันมีข้อเสียคือ คิดว่า ช้า ไม่ทันการณ์ นี่แหละปากเหวแห่งความยากจน (สำหรับชาวเกษตรกรผู้มีพื้นที่น้อยและทำการเกษตรไม่ถูกที่ถูกทาง -Zoning- นะครับ) ผลดีจากการลดต้นทุนทางการเกษตร คือ
-ลดค่าใช้จ่าย
-มีเงินไปใช้ด้านอื่นที่จำเป็นมากขึ้น

จะเห็นว่า ต้นทุนของชาวนาไทย กับ เมียนมาร์ (พม่า) กับ เวียดนาม จะต่างกันมาก (แม้ไทยจะคุยฟุ้งว่าข้าวไทยมีคุณภาพมากกว่า) จึงทำให้ประเทศอื่นสามารถขายข้าวในราคาที่ถูกกว่า ข้าวไทย มากนั่นแหละครับเป็นเหตุให้สะท้อนกลับมาหาชาวนาในที่สุดว่า ราคาสมมุติ (สูงเกินจริง) ในที่สุดก็อั้นไม่อยู่ พอซื้อแพง จะไปขายแพงก็ขายไม่ออก ในที่สุดก็ค้างสต็อก พอค้างนานก็เสีย เฮ้อ

สรุปว่า ลดต้นทุนในการทำการเกษตร  เราทุกคนทำได้ แต่ต้องใส่ใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้ใช้ความจริง หรือ หลักฐานทางวิชาการ มากกว่าความรู้สึก แล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้ เกษตรกร เราอยู่ได้ อย่างมีความสุข ไม่ต้องพึ่งพา พ่อค้าคนกลาง หรือ ตัวแทนขายยามากเกินไป ครับ ส่วนท่านใดสนใจเรื่อง การทำปุ๋ยใช้เอง และ ผสมปุ๋ยใช้เอง ก็ให้คลิกตามลิงค์นั่นแหละครับ

1 Response to "ลดต้นทุนในการทำการเกษตร "

  1. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศให้ปี 2559 เป็น "ปีแห่งการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร" โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
    1.การลดปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ)
    2.เพิ่มผลผลิตต่อไร่
    3.เพิ่มการบริหารจัดการ (รวมแปลง+รวมทุน+ เครื่องมือ)
    4.การตลาด (วางแผน/เพิ่มช่องทาง)
    กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานวิจัยที่เกษตรกรนำไปใช้นั้น มีทั้งด้านปัจจัยการผลิต เช่น พืชพันธุ์ดี ปุ๋ยชนิดต่างๆ ที่ใช้ทดแทนหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี สารสกัดจากพืชที่ใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตร และวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ขณะเดียวกันผลผลิตที่ได้ก็มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและคำแนะนำการปฏิบัติเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืช มีดังนี้ ปัจจัยการผลิต 1.พืชพันธุ์ดี นับเป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เข้าถึงเกษตรกรได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องลงทุนสูง กรมวิชาการเกษตรตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการทุ่มเทให้กับการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง สร้างระบบการรับรองพันธุ์ที่ได้รับความเชื่อถือในระดับสากล มีพันธุ์พืชใหม่ที่กระจายสู่พี่น้องเกษตรกรทุกปี และพืชบางพันธุ์ได้รับความนิยมจากเกษตรกรมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 1 ถั่วลิสงพันธุ์ ไทนาน 9 ถั่วเหลืองพันธุ์ศรีสำโรง ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า อ้อยพันธุ์อู่ทอง อ้อยพันธุ์ขอนแก่น งาพันธุ์อุบลราชธานี ยางพาราพันธุ์ RRIT 251 ถั่วฟักยาวพันธุ์พิจิตร เป็นต้น ในปี 2558 ที่ผ่านมา มีพืชพันธุ์ดีที่ได้รับการรับรองและนำจากกรมวิชาการเกษตร ประกอบด้วย มันสำปะหลังระยอง 86-13 ข้าวโพดหวานลูกผสมชัยนาท 86-1 ข้าวโพดหวานลูกผสมชัยนาท 2 ฝ้ายตากฟ้า 86-5 ข้าวฟ่างสุพรรณบุรี 2 อ้อยอู่ทอง 14 อ้อยอู่ทอง 15 ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 4 ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 5 ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 6 และ มะนาวพิจิตร
    แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

    ตอบลบ