การทำสวนยางแบบละเอียด 7 : พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก

การทำสวนยางแบบละเอียด 7 :  พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก


พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก

การปลูกยางพารา นั้นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ พันธุ์ยางพารา เนื่องจาก หากมีการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีแหละเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และคุ้มค่าต่อการลงทุนของ เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง สถานบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ให้รายละเอียดไว้ ดังนี้

1. การเลือกพันธุ์ยางพารา ควรเป็นพันธุ์ที่ มีคุณสมบัติเหล่านี้ประกอบด้วยคือ
- ให้ผลผลิตสูง
- การเจริญเติบโตดี
- มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- ต้านทานโรคในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงดี

2. พันธุ์ยางพาราที่แนะนำให้ปลูก ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2546 ได้จัดไว้เป็นกลุ่ม มี 3 กลุ่ม ขอแนะนำพันธุ์ยางชั้น 1 ในแต่ละกลุ่มดังนี้


ต้นยางพารา
ภาพพันธุ์ต้นยางพารา

กลุ่มที่ 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูงได้แก่พันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226, BPM 24, RRIM 600

พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251)

- ผลผลิตเนื้อยางแห้งเฉลี่ย 10 ปี 457 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนยางใหม่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 317 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ดีทั้งในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีด การผลัดใบค่อนข้างช้าและผลัดใบพร้อมกัน สีของน้ำยางและยาแผ่นดิบมีสีขาว
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ต้านทานโรคเส้นดำดีต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอบโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูปานกลาง มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ตานทานลมปานกลาง
- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

พันธุ์BPM 24 - ผลผลิตเฉลี่ย 312 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยา

- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน หากใช้ระบบกรีดถี่ จะทำให้ต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งมากขึ้น
- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราดีมาก ต้านทานโรคเส้นดำดี ต้านทานโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพูปานกลาง มีต้นเปลือกแห้งจำนวนปานกลางต้านทานลมปานกลาง
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
ข้อสังเกต : ในระยะยางอ่อนแตกกิ่งเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำต้นและกิ่งมีรอยแผลน้ำยางไหล ซึ่งจะหายไปในระยะต่อมา

พันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 226 (RRIT 226)

- ผลผลิต 8 ปี กรีดเฉลี่ย 346 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
- การเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดและระยะระหว่างกรีดปานกลาง ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงปานกลาง
- ควรใช้ระรบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำดี ต้านทานโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูปานกลาง และอ่อนแอต่อโรคราแป้ง
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าที่ดินตื้นและมีระดับน้ำใต้ดินสูง

พันธุ์ RRIM 600 

- ผลผลิตเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ผลผลิตลดลงมากในช่วงผลัดใบในพื้นที่แห้งแล้ง
- การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบาง และเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนปานกลางอ่อนแอต่อโรคราสีชมพู อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื่อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ มีต้นเปลือกแห้งจำนวนน้อย ต้านทานลมปานกลาง
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
- ข้อสังเกต : ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระบาดอย่างรุนแรง

กลุ่มที่ 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูงได้แก่ พันธุ์ PB 235, PB 255, PB 260, RRIC 110

พันธุ์ PB 235

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็ว ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง
- ระยะยางอ่อนแตกกิ่งเร็ว กิ่งมีขาดเล็กจำนวนมาก และทยอยทิ้งกิ่งด้านล่าง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเหลือกิ่งขนาดกลาง 4 – 5 กิ่งในระดับสูง มีพุ่มใบค่อนข้างบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม
- เริ่มผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
- เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง
- ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปี กรีดเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 60 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 37 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้สารมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงปานกลาง
- ผลผลิตเนื้อไม้ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้น 0.10, 0.30 และ 0.41 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.75, 22.34 และ 28.09 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราปานกลาง อ่อนแอมากต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูน
- ต้านทานโรคเส้นดำปานกลาง และต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู
- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งค่อนข้างมาก
- ต้านทานลมปานกลาง
- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อสังเกต : ยางพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็วเนื่องจากทรงพุ่มขนาดใหญ่ไม่ควรปลูกระหว่างต้นน้อยกว่า 3 เมตร
ข้อจำกัด : ไม่แนะนำการกรีดถี่ที่มีวันกรีดติดต่อกันเพราะต้นยางจะเกิดอาการเปลือกแห้งมาก

พันธุ์ PB 255

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงปานกลาง ระยะระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง
- แตกกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากพุ่มใบทึบ ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกลม
- เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า
- เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 318 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 46 ผลผลิต เพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงปานกลาง
- ผลผลิตเนื้อไม้ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.28 และ 0.39 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.26 , 21.57 และ 27.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู ต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้งและโรคเส้นดำ
- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งปานกลาง
- ต้านทานลมดี
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
- ข้อจำกัด : ไม่แนะนำการกรีดถี่ที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะต้นยางจะเกิดอาการเปลือกแห้งมาก

พันธุ์ PB 260

- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดี ความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง
- แตกกิ่งน้อยกิ่งมีขนาดปานกลางและแต่ละกิ่งจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมากเป็นชั้นๆ พุ่มใบทึบในช่วงอายุน้อยทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกลม
- เริ่มผลัดใบช้า
- เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 322 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 32 ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลผัดใบผลผลิตลดลงเล็กน้อย
- ผลผลติเนื้อไม้ ในช่วงอายุ 6, 15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้น 0.10, 0.26 และ 0.36 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิเป็น 6.85, 19.90 และ 25.53 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- ต้านทานปานกลางต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้งโรคใบจุดนูนและโรคเส้นดำ ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู
- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งค่อนข้างมาก
- ต้านทานลมดี
- ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง RRIC 110
- ระยะก่อนเปิดกรีดเจริญเติบโตดีมาก เปิดกรีดได้เร็ว และความสม่ำเสมอของขนาดลำต้นทั้งแปลงดี ทำให้มีจำนวนต้นเปิดกรีดมาก ระยะระหว่าง กรีดเจริญเติบโตปานกลาง
- กิ่งมีขนาดใหญ่แตกกิ่งในระดับสูงเนื่องจากการทิ้งกิ่งด้านล่างเมื่อยางมีอายุมากขึ้นทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด
- เริ่มผลัดใบช้า
- เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่บาง
- ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน
- ผลผลิตน้ำยาง 10 ปี กรีดเฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ที่ปลูกในแปลงทดลองเดียวกันร้อยละ 27 ผลผลิตเพิ่มขึ้นปานกลาง เมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในช่วงผลัดใบผลผลิตลดลงเล็กน้อย
- ผลผลิตเนื้อไม้ ในช่วงอายุ 6,15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.29 และ 0.40 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.44, 21.86 และ 27.55 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราดี และต้านทานโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพูปานกลาง
- มีจำนวนต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งปานกลาง
- ต้านทานลมปานกลาง
- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชันพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
- ข้อสังเกต : น้ำยางเมื่อนำไปทำเป็นยางแผ่นดิบ จะมีสีค่อนข้างคล้ำ

กลุ่มที่ 3 : พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง ได้แก่พันธุ์ ฉะเชิงเทรา 50, AVPOS 2037, BPM 1

พันธุ์ ฉะเชิงเทรา 50 (RRIT 402)

- การเจริญเติบโตของลำต้น เจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6 ปี มีขนาดเส้น รอบวงลำต้น 51.6 เซนติเมตร
- การแตกกิ่งและทรงพุ่ม ทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่ ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง และรูปทรงลำต้นตรง
- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม่ส่วนลำต้นตรง
- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
- ต้านทานโรคใบเร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราปานกลางต้านทานโรคราแป้งปานกลางและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูน
- การเจริญเติบโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.3, 78.5 และ 87.3 เซนติเมตร ตามลำดับ
- การแตกกิ่งและทรงพุ่มในช่วงยางอายุน้อยมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากแตกกิ่งสมดุล พุ่มใบทึบ ทิ้งกิ่งเล็กค่อนข้างเร็วเมื่ออายุมากเหลือกิ่งขนาดใหญ่ 1-2 กิ่งในระดับสูงทำให้ทรงพุ่มโปร่งรูปทรงลำต้นตรง ลักษณะกลม
- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6,15 และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 03.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.22, 23.07 และ 28.90 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้งและต้านทานดีต่อโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู
- ต้านทานลมดี
- ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง BPM 1
- การเจริญโตดีมาก ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ปี มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 50.1,78.1 และ 86.9 เซนติเมตรตามลำดับ
- ในช่วงอายุน้อยแตกกิ่งต่ำมีกิ่งขนาดเล็กจำนวนมากการแตกกิ่งสมดุลทรงพุ่มรูปกรวย มีขนาดปานกลาง ทรงพุ่มโปร่งอยู่ในระดับสูง
- การผลัดใบ เริ่มผลัดใบเร็ว
- ผลผลิตเนื้อไม้ ต้นยางอายุ 6, 15 และ 20 ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.10, 0.31 และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12, 22.91 และ 28.73 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ
- ต้านทานดีต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และต้านทานปานกลางต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู
- ต้านทานลมดี
- ปลูกได้พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

.......................

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การทำสวนยางแบบละเอียด 1 : ยางพาราไทย
การทำสวนยางแบบละเอียด 2 : ประวัติยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย
การทำสวนยางแบบละเอียด 3 : การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
การทำสวนยางแบบละเอียด 4 : สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 6 : ชนิดของต้นพันธุ์ยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 7 :  พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก
การทำสวนยางแบบละเอียด 8 : การเสริมรายได้ในสวนยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 9 : การกำจัดวัชพืช
การทำสวนยางแบบละเอียด 10: การใส่ปุ๋ยยางพารา
การทำสวนยางแบบละเอียด 11: วิธีการกรีดยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 13: ผลิตผลและการแปรรูปยาง

ดาวน์โหลดความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ยางพาราฟรีที่ http://www.rubbercenter.org/files/rubber-tree.pdf

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "การทำสวนยางแบบละเอียด 7 : พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก"

แสดงความคิดเห็น