ธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน วิถีเกษตรสีเขียว

ธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน วิถีเกษตรสีเขียว


พอดีช่วงนี้ เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ผมคิดถึงเรื่องของ ปุ๋ยยางพารา และลองหาความรู้จากที่ต่างๆ แล้ว ทำให้เห็นว่า ปุ๋ยชีวภาพ ที่มีประสิทธิภาพและลงทุนน้อยรูปแบบหนึ่ง ก็คือ การเลี้ยงไส้เดือน เพราะว่าไม่ต้องมีอะไรมาก ใช้แค่ลังพลาสติกราคา 300 - 400 บาท ก็สามารถลงทุนได้แล้ว คือ มันถูกมาก และยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมากมาย ศึกษามานานเหมือนกันแหละครับ จริงๆ แล้วดังนั้น ผมเลยคิดว่า ผมจะลงทุนเลี้ยง และอยากนำมาเผยแพร่ ให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เราได้รู้จัก เผื่อนำไปปฏิบัติให้ได้ผลมากยิ่งขึ้นครับ บทความนี้ เป็นบทความที่เน้นสำหรับคนที่ต้องการทำเป็นธุรกิจนะครับ

อบรมเลี้ยงไส้เดือนรอบที่ผ่านมา นอกจากผู้คนจะมาจากหลากหลายจังหวัด และหลากหลายอาชีพ เรื่องหนึ่งที่รู้สึกประทับใจ คือ ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีมุมมองการเลี้ยงไส้เดือนที่ผมคิดว่าถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการทำธุรกิจระยะยาว
ปุ๋ยจากไส้เดือน
ดินจากไส้เดือน

นั้นคือ มองไส้เดือนเป็นเสมือน "กลไก" ที่ทำให้วงจรของระบบเกษตรและธรรมชาติทำงานได้สมบูรณ์ และยั่งยืน .... ไม่มองการเลี้ยงไส้เดือนเป็นเพียงธุรกิจเชิงเดี่ยว ที่มุ่งเน้นแต่ขายตัวไส้เดือน หรือผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินออกมาขายโดดๆ

ตัวอย่าง ผู้เลี้ยไส้เดือน ที่ประสบความสำเร็จ


ตัวอย่างที่ 1 สวนปาล์มน้ำมัน

ท่านนี้เดินทางมาจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ทำธุรกิจปลูกปาล์มอยู่แล้ว มีสวนปาล์มน้ำมันอยู่หลายร้อยไร่ ทำมากว่า 20 ปี 

 ตลอดเวลาใช้แต่ปุ๋ยเคมีและสารเคมี (ระยะหลังค่อยปรับลดลงเรื่อยๆ) ทำให้ดินเริ่มเสีย สภาพหน้าดินแข็งกระด่าง คิดแล้วหากยังใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปเรื่อยๆ ผลผลิตระยะยาวมีแนวโน้มลดลงอย่างแน่น่อน 

ด้วยเหตุนี้จึงพยายามมองหาหนทางในการปรับสภาพดินและคืนความสมบูรณ์ให้ดินด้วยวิธีธรรมชาติ ในที่สุดก็ตัดสินใจที่จะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ยมูลไส้เดือนไว้ใช้ปรับโครงสร้างของดินในสวนปาล์มของตัวเองก่อน

และกำลังคิดต่อไปอีก ด้วยการนำวัสดุต่างๆ ที่เหลือจากภาคการเกษตรมาใช้ผสมร่วมกับมูลวัวในการทำ bedding ไส้เดือน 

เรียกว่าได้ 2 เด้ง !! คือนอกจากจะได้ปุ๋ยคุณภาพสูงไว้ใช้ ยังมีวิธีกำจัดของเหลือที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ตัวอย่างที่ 2 ร้านอาหารออแกนิค

แม่ลูกสองท่านกำลังวางแผนในการทำร้านอาหารออแกนิค (organic restaurant) จึงคิดว่าจะทำอย่างไรดีที่จะให้พืชผักที่ปลูกเป็นอาหารให้ลูกค้าปราศจากสารพิษและ

สารตกค้างจริงๆ ไม่ใช่แอบอ้าง organic

หลังจากศึกษาข้อมูลพอสมควร ทั้งสองท่านจึงเห็นพ้องกันว่าควรจะเลี้ยงไส้เดือนไว้เพื่อทำปุ๋ยมูลไส้ออกมา ขั้นแรกเน้นไว้ใช้กับผักและต้นไม้ภายในร้านของตัวเองก่อน 

 ตัวอย่างที่ 3 

กลุ่มนี้มากันสามท่าน มีธุรกิจรีสอร์ทอยู่แล้ว Theme ของรีสอร์ทก็เน้นที่เรื่อง "green" เป็นหลัก

เป้าหมายชัดเจนคือ ต้องการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อใช้กำจัดเศษอาหารและขยะต่างๆ  ภายในรีสอร์ท ส่วนปุ๋ยเป็นผลพลอยได้จะเอาไว้ใช้กับต้นไม้ภายในรีสอร์ทเท่านั้น

ตัวอย่างที่ 4 ทำธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน


กลุ่มนี้มาจากสงขลา จำนวน 3 ท่านเช่นกัน

ทั้งหมดรับผิดชอบโครงการกำจัดขยะของเทศบาลแห่งหนึ่งของสงขลา ต้องการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อใช้กำจัดขยะของเทศบาลด้วยวิธีธรรมชาติ อันจะช่วยดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย ปุ๋ยก็เป็นผลพลอยได้เช่นกัน

เหตุผลที่ฉายภาพ 3-4 ตัวอย่างนี้ขึ้นมา เพราะในมุมมองส่วนตัว คิดว่าเป็น Model ที่ถูกต้อง มั่นคงและยั่งยืนสำหรับการทำธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน

คือ สามารถผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ภายในก่อน เมื่อผลิตได้เกินความต้องการค่อยผลิตออกจำหน่าย

หากแนวโน้มนี้ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาวท่านที่ทำธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนเพียงเพื่อต้องการจำหน่ายตัวไส้เดือนอย่างเดียวก็อาจได้รับผลกระทบเชิงลบได้ 

หรือท่านที่ผลิตปุ๋ยออกมาโดยขาดความรู้ในการนำปุ๋ยไส้เดือนไปใช้ (Applications) ไม่ว่าจะเป็นการใช้กับต้นไม้ชนิดต่างๆ หรือนำไปเพิ่มมูลค่าด้านอื่นๆก็จะเสียเปรียบด้านการตลาดการขายพอสมควร

หากเราวิเคราะห์ key player ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจปุ๋ยมูลไส้เดือนในปัจจุบัน จะเห็นว่าส่วนมากมีธุรกิจอื่นรองรับอยู่แล้ว เช่น บางแห่งก็จำหน่ายพันธุ์ไม้มาก่อน ปุ๋ยที่ผลิตออกมาจึงมีที่รองรับแน่นอน และผลผลิตที่ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนก็ยังเป็น Proven Evidence ให้ผู้ซื้ออย่างดี สามารถเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใช้กับไม่ใช้ปุ๋ยไส้เดือนแตกต่างกันอย่างไร

มี Proven Evidence งานขายก็ง่ายขึ้นเยอะ

ที่เน้นตรงนี้ ถึงแม้ปุ๋ยไส้เดือนจะมีจุดแข็งและคุณประโยชน์มากมาย แต่ก็มีจุดอ่อนในด้านราคาที่ค่อนข้างสูง และได้ผลไม่ทันใจเท่าปุ๋ยเคมี ตลาดจึงยังคงอยู่ในวงจำกัด ต้องใช้เวลาในการ educate พอสมควร

หากดูจาก trend ในต่างประเทศ ค่อนข้างมั่นใจว่าธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนเป็นธุรกิจที่มีอนาคต แต่ต้องอยู่บน model ที่ถูกต้อง ใครที่ทำแบบตีหัวเข้าบ้านก็น่าจะลำบากหน่อยครับ หากยังไม่รีบปรับตัว


Article Credit : อ.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ (ที่ปรึกษาธุรกิจ และผู้บริหาร ifarm) - find more


0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน วิถีเกษตรสีเขียว"

แสดงความคิดเห็น