การทำสวนยางแบบละเอียด 2 : ประวัติยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย

การทำสวนยางแบบละเอียด 2 : ประวัติยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย


ประวัติยางพาราไทย


ยางพาราในเมืองไทยเราในปัจจุบันนี้ เราคุ้นตากันแล้วเพราะว่าไปที่ไหนก็เห็นไปหมดแต่ ประวัติยางพาราไทย เป็นสิ่งที่เรายังไม่ได้รู้กันแน่ชัดนัก วันนี้ เกษตรกรพอเพียง จึงขออนุญาตนำมาเล่าเป็นตอนแรก ก็แล้วกันครับ จะได้อ่านสาระไป ทีละนิดทีละหน่อย จะได้ไม่เบื่อเสียก่อน

ยางพาราปลูกที่แรกในประเทศไทย

ประมาณกันว่า ยางพาราเข้ามาสู่ประเทศไทย ในยุคที่ประเทศเรายังใช้ชื่อประเทศว่า สยาม (Siam) อยู่ซึ่งก็น่าจะเป็นช่วงหลังปี พ.ศ. 2425 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ได้มีการเริ่มขยายพันธุ์ กล้ายางพารา จากต้นพันธ์เดิม จำนวน 22 ต้น แล้วให้มีการมอบให้นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเชียเรา

ต่อมาจึงได้พบหลักฐานที่ชัดเจนว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) บิดาแห่งยางพาราไทย ได้นำไปปลูกที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรง เมื่อ พ.ศ. 2442 นับเป็นครั้งแรกที่มีหลักฐานและความชัดเจนเรื่อง ประวัติยางพารา ของประเทศไทย ต่อมา พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ก็ได้ส่งบรรดา ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ตลอดถึง เจ้าเมือง ทั้งหลายให้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา นับว่าเป็น นักเรียนด้านยางพารา เป็นกลุ่มแรก ซึ่งต่อมา ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ตลอดถึง เจ้าเมือง เหล่านั้น ก็ได้นำเอา พันธุ์ยางพารา ไปแจกจ่ายแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ปลูกกันเป็นการทั่วไป ตามรับสั่งจาก พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ เริ่มการปลูกยางกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกยางพาราดังกล่าวนี้ว่า “ยางเทศา” จากนั้น ก็มีความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนขยายออกไปในจังหวัดภาคใต้อื่นๆอีก 14 จังหวัด นี่เป็นระยะแรก และยุคแรก ที่มีการปลูกยางเป็นจำนวนมาก

จนถึงปัจจุบันนี้ การปลูกยางพารา ในประเทศไทย ได้กระจายตัวไปทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ภาคเหนือ จรดภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนืองจรดภาคตะวันตก จนทำให้ประเทศไทย ได้ผงาดขึ้นมาเป็น ผู้ผลิตและส่งออกยางพารา มากที่สุดในโลก นับเป็นปรากฏการณ์ที่ดี ที่ทำให้ เกษตรกร หรือ ชาวสวนยาง ได้มีรายได้มากขึ้นและเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี

อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเหล่านี้ ก็ได้อาศัยการส่งเสริมจากทางรัฐบางทุกสมัย เพื่อให้กระบวนการต่างๆ เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง โดยมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบ ด้านการวิจัย พัฒนา และ ถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่เกษตรกรชาวสวนยาง รวมไปถึงการให้ ทุนสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี และ ช่วยอุตหนุนต้นทุนแก่เจ้าของสวนยางด้วย
  
.......................
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การทำสวนยางแบบละเอียด 1 : ยางพาราไทย
การทำสวนยางแบบละเอียด 2 : ประวัติยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย
การทำสวนยางแบบละเอียด 3 : การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
การทำสวนยางแบบละเอียด 4 : สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 6 : ชนิดของต้นพันธุ์ยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 7 :  พันธุ์ยางพารา ที่แนะนำให้ปลูก
การทำสวนยางแบบละเอียด 8 : การเสริมรายได้ในสวนยาง
การทำสวนยางแบบละเอียด 9 : การกำจัดวัชพืช
การทำสวนยางแบบละเอียด 10: การใส่ปุ๋ยยางพารา
การทำสวนยางแบบละเอียด 11: วิธีการกรีดยาง


การทำสวนยางแบบละเอียด 13: ผลิตผลและการแปรรูปยาง


0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "การทำสวนยางแบบละเอียด 2 : ประวัติยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย"

แสดงความคิดเห็น