ชีวิตพอเพียง บทเรียนจากชาวอินเดีย

ชีวิตพอเพียง บทเรียนจากชาวอินเดีย


สวัสดีครับ เกษตรกร ผู้ต้องการมีชีวิต แบบพอเพียง ทุกคน ผมในฐานะที่ได้เดินทางเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวก็ต้องการจะมีชีวิตที่ ได้ปลูกพืชผักผลไม่ต่างๆ อย่างหลากหลาย หรือการทำเกษตรแบบผสมผสาน นั่นแหละครับ วันนี้ ผมได้เปิดคอมพิวเตอร์และค้นดูอะไรไปเรื่อยเปื่อย จนได้เจอกับภาพนี้ เลยเกทไอเดียว่า น่าจะนำมาแชร์ ให้คนอื่นๆ ได้ดู เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ไปด้วย

เศรษฐกิจพอเพียง อินเดีย

ผมได้เห็นความเป็นอยู่ แบบพอเพียง ของชาวอินเดีย มาเยอะ เขาอยู่แบบประหยัด มีอะไร ก็ใช้อันนั้น คิดถึงตอนที่ไปอินเดียครั้งแรก ไปพักที่บ้านของ อาจารย์ท่านหนึ่ง เป็น ด๊อกเตอร์ เสียด้วยตอนนั้นอายุน่าจะสี่สิบต้นๆ เช้าวันรุ่งขึ้น ผมเห็นท่านนั่งกินข้าวในจาน ลักษณะประมาณว่าข้าวราดแกงบ้านเรานั่นแหละ นั่นไม่ประหลาดเท่าจานที่ผมเห็นนั้น มันมีรอยร้าว รอยแตกอยู่ นี่ไงครับเป็นสิ่งแรกที่เห็นแล้วอึ้ง 


อีกอย่างหนึ่งที่ น่ารักมาก ของชาวอินเดีย คือ ตอนเช้ามา แม่เขาก็จะจัดอาหารใส่ตะกร้าไว้ เป็นชุดๆ ตามจำนวนลูกที่จะไปโรงเรียน และตั้งไว้ใกล้ประตูบ้าน เพื่อว่า พอลูกใส่รองเท้าแล้วก็หยิบติดมือไปได้เลย ในตะกร้าอาหารนั้น จะประกอบไปด้วย ปิ่นโตเล็กๆ ใส่อาหาร ข้าว ของหวาน และมีขวดน้ำดื่มเหมือนบ้านเรามีขวดเพท ประมาณนั้น เป็นตะกร้าเล็กๆ ดูน่ารักมากๆๆๆๆ ขอบอก  พอช่วงอาหารเที่ยง ซึ่งบ้านเขาจะกินกันประมาณ บ่ายโมงบ่ายสองโน่น สาวๆ นักศึกษา ปริญญาโทแล้ว เขาก็ยังไปนั่งรวมกันกินอาหารใต้ร่มไม้อยู่เลย ผมชอบมากเลย ดูน่ารัก เป็นธรรมชาติดี

กลับมาพูดถึงภาพที่ผมนำเสนอวันนี้อีกที ถ้าท่านดูให้ดี เจ้าของร้านนี้ไม่ได้จนนะครับ เปรียบกับบ้านเราก็คือ คนที่มีร้านของชำย่อมๆ มีรายได้มากกว่าคนที่รับจ้างรายวันเลยนะ เพราะร้านเล็กๆ ของเขามีแทบทุกอย่าง ผลไม้ ถาดใส่ และของหวาน ซึ่งเป็นของขายดีทั้งนั้น กล้วยยิ่งเป็นของขายดี ใครๆ ก็กิน ผมว่า เขาได้ขายวันละเป็นพันหรือหลายพันเลยทีเดียว คนพวกนี้ เขาไม่ต้องเสียภาษีอะไร อยู่แบบง่ายๆ เก็บเงินอย่างเดียว 

คนอินเดีย ที่ค้าขายแบบนี้ เวลาเขาจะซื้อของ เขาไม่ต้องไปใช้เครดิตอะไรหรอกครับ เขาจะเก็บเงินให้มันพอซื้อ แล้วเขาจะซื้อสด เช่น มอเตอร์ไซค์ ซื้อสดเลย ข้อดีเป็นอย่างไร?

ขอดีของการซื้อของด้วยเงินสด ไม่ใช้สินเชื่อ หรือว่าเราเรียกกันสวยๆ หรูๆ ว่า ไฟแนนซ์ มันก็คือการที่เรากู้เงินเขาแล้วจ่ายเป็นงวดๆ ซึ่งเขาคิดดอกเบี้ยเราไปหมดแล้ว นี่คือสิ่งที่คนบ้านเรานิยม แต่ลืมคิดไปว่า ถ้าเก็บเงินให้ครบ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และระหว่างที่เก็บเงินอยู่นั้น ดอกเบี้ยเงินฝากก็ได้อีกต่างหาก 

เวลาพูดถึงคน อินเดีย หรือภาษาที่เราไม่อยากให้ใช้กันก็คือ แขก หรือ แขกอินเดีย คนไทยมักจะมองว่าเขาจนและสกปรก แต่ถ้าไปอยู่และเรียนรู้จริงๆ จะรู้ว่า เราได้รู้ได้เห็นเขาไม่ถึงครึ่งเสี้ยว แต่สิ่งที่เราพูดถึงนั้น เป็นการนำเอามุขตลกของคนมาขยายกัน จนทำให้เราเข้าใจผิด แม้แต่ขอทานที่เราเห็นกันเวลาไปเที่ยวตาม พุทธสถาน หรือ สังเวชนียสถาน ขอทานเหล่านั้น คือผลงานของคนไทย เป็นผลิตผลของคนไทย ที่จริงบางคนก็เป็นแค่คนเดินไปเดินมา พอเห็นพระ เห็นคนไทย เขาสันนิษฐานไปก่อนว่า ถ้าขอแล้วได้เงินแน่ๆ ก็เลยทำไป ประมาณนั้น

การใช้จ่าย แบบพอเพียง เป็นเรื่องดีครับ แต่บางคนก็เข้าใจผิดเสียจนน่าด่าให้เสียคนคือ เขาบอกว่า เราเข้าใจผิดว่า อยู่อย่างพอเพียงคือ มีเท่าไรใช้เท่านั้น เห็นไหมครับ ผิดสิ เพราะมีเท่าไรใช้เท่านั้นก็ขยายเป็นว่า มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้มาก ใช้หมดเท่าที่มี นี่เข้าใจผิดจนหน้าด่าจริงๆ นะ ที่จริงเขาหมายถึง การใช้จ่ายแต่พอสมควร คำณวนในการใช้จ่าย และไม่ให้ใช้จ่ายเกินตัว เพราะชีวิตเรายังอีกยาวไกล ต้องมองไปถึงอนาคตด้วย รู้จักการอดออม ดังคำพระท่านบอกถึงหัวใจเศรษฐีว่า รู้จักขยันหาทรัพย์ รู้จักรักษาทรัพย์ มีมิตรสหายที่ดี และทำต้นเสมอต้นเสมอปลาย นี่ต่างหากที่ถูกต้อง เอาละสิ พูดถึงธรรมแล้วอยากเขียนอีกหลายอย่าง แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ อยากให้ดูภาพ แล้วคิดแล้วจะได้อะไรอีกมากมาย จริงๆ นะ ขอบอก

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ชีวิตพอเพียง บทเรียนจากชาวอินเดีย"

แสดงความคิดเห็น