เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ 2 : ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรก

เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ 2 : ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรก

สำหรับพี่น้อง เกษตรกรชาวสวนยาง ผมของใช้คำว่า เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ 2 : ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรก เนื่องจาก ผมเคยเขียนไว้แล้วครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง การใส่ปุ๋ย สวนยาง วันนี้ ยากจะมาย้ำเตือนกัน เพื่อจะได้รู้และแบ่งเวลาที่ถูกต้องได้

ฤดูฝนกับการใส่ปุ๋ย สวนยาง

เรื่อง การใส่ปุ๋ย สำหรับ ชาวสวนยาง โดยเฉพาะทางภาคเหนือนั้น ส่วนตัวผมแล้วผมมองว่า เรื่องฤดูฝน ต่างไปจากตำราต่างๆ ที่เขียนไว้ในหนังสือ และ ในเว็บไซต์ต่างๆ พอสมควร อย่างที่เรารู้ๆ กันนั่นแหละครับ พอหน้าฝนเข้ามา จะสังเกตุว่าทางอีสาน กับ ทางเหนือ จะมีฝนตกก่อน แล้วฤดูฝน แบบเต็มพิกัดก็จะเกิดขึ้น แล้วจะไล่ลงใต้ไปเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้ เราจะเห็นได้ว่า ทางใต้ ฝนเพิ่งจะหยุดไปไม่นานนี่เอง แต่ทางเหนือ เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอีกละ (แต่ให้ตระหนักว่า จะมีฝนทั้งช่วงคั่นอยู่ระยะหนึ่งนะครับ ประมาณช่วงปลาย พฤษภาคม ไปสักเดือนกว่าๆ นี่แหละ)

วิธีการใส่ปุ๋ย ยางพารา

สิ่งสำคัญคือ ตอนนี้ เตรียมปุ๋ย ที่จะใส่สวนยางได้แล้ว ก่อนที่ฝนจะทิ้งช่วงไปสักระยะหนึ่ง ผมว่า การที่เราใส่ปุ๋ยในระยะนี้ ก็จะทำให้ต้นยางได้กินปุ๋ย ไปก่อนเพื่อการสร้างความเจริญเติบโต หลังจากที่กินปุ๋ยรอบสอง ของปีที่แล้วมา นานมาก ไม่ต่ำกว่า 6-7 เดือนก่อน ถ้าเราไปใส่เอาตอน มิ.ย.- ส.ค. โน่นก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ขาดปุ๋ยนานไปแล้ว ขอย้ำว่า โดยเฉพาะภาคเหนือนะครับ ภาคอื่น ตั้งสังเกตุสภาวะอากาศเอาเอง

ตามที่ทาง กรมวิชาการเกษตร ได้บอกเรื่อง ใส่ปุ๋ยยางพารา ที่เปิดกรีดแล้ว ว่า

"ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยางผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว"

สาเหตุที่ผมนำเรื่องนี้มา เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ เรื่องการ ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรกนี้ ก็เนื่องจาก 2 ปีก่อน การใส่ปุ๋ยยางพารา ของผมเองก็ล่าช้าไปหน่อย จึงมีผลต่อน้ำยาง พอสมควร จึงจดไว้ในปฏิทิน และทุกปี ผมก็จะนำไปเขียนในปฏิทินปีต่อไป เป็นการรวบรวมข้อมูลไว้ตลอดครับ เพื่อการปฏิบัติต่อสวนยาง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

และมีข้อสังเกตุเรื่องการใส่ปุ๋ย ที่ต้องใส่ใจอีกหน่อยหนึ่งคือ

"นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยหลังจากปราบวัชพืชเรียบร้อยแล้ว และ ไม่ควรใส่ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งหรือมีฝนตกชุกเกินไป นอกจากนี้ยัง สามารถใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้ ปุ๋ยชีวภาพในอัตราต้นละ 2-3 กก. จากการศึกษาพบว่า ทำให้ต้นยางกรีด ได้นานกว่าปกติประมาณ 1-2 เดือน"

จากข้อมูลด้านบนนี้ ทำให้พบว่า

-เราต้อง จัดการหญ้า หรือวัชพืช ออกเสียก่อน มันจะได้ไม่แย่งปุ๋ยไปกิน
-ไม่ใส่ปุ๋ยหากแห้งแล้ง เพราะปุ๋ยไม่ละลาย แต่จะระเหยลอยหายไปในอากาศแทน ถ้าใส่โดยการขุดฝัง ปุ๋ยก็จะไปดูดน้ำจากรากยาง (มีผลเสียมากกว่าผลดี
-ไม่ใส่ปุ๋ยหากฝกตกชุกเกินไป เพราะมีโอกาสที่น้ำจะ ชะล้างปุ๋ยไปหมด ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
-การใส่ปุ๋ยชีวิภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ตัวนี้ผมยังไม่ได้ทำ แต่รู้ว่า มีผลดีต่อสวนยาง เนื่องจาก ทำให้ดินร่วมซุย เพราะมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยอาหารและอยู่ในดิน ช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีมากขึ้น
-ทำให้ลดการใช้จ่ายได้ หากสนใจเรื่อง การหมักปลา ลองคลิกลิงค์เข้าไปอ่านดู

เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ ตอนที่ 2 เรื่องการ ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรก ของฤดูการ กรีดยาง ก็คงจะพูดคุยกันเท่านี้ก่อน เดี๋ยวข้อมูลดีๆ จะนำมาเล่าสู่กันฟังใหม่ครับ ขอให้ทำสวนยางมีความสุข ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้กันถ้วนหน้านะครับ

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "เตือนชาวสวนยางภาคเหนือ 2 : ใส่ปุ๋ยสวนยาง รอบแรก"

แสดงความคิดเห็น