ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน

ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน

ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน ซึ่งปกติเราไม่ค่อยจะรู้กัน ฉะนั้นวันนี้เราชาวเกษตรกร ลองมาเรียนรู้กันเสียหน่อยจะได้แยกแยะเป็น โดยที่เราจะแบ่งเป็นสอง ด้านคือ

ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน


1. ข้อมูลและลักษณะภายในของไส้เดือน
2. ข้อมูลและลักษณะภายนอกของไส้เดือน

ผนังร่างกายของไส้เดือนดิน

ประกอบด้วย ชั้นนอกสุดคือ คิวติเคิล และถัดลงมาคือ ชั้นอิพิเดอร์มิส ชั้นเนื้อเยื่อประสาท ชั้นกล้ามเนื้อตามขวางและชั้นกล้ามเนื้อตามยาวและถัดจาดชั้นกล้ามเนื้อตาม ยาวจะเป็นเนื้อเยื่อเพอริโตเนียม ซึ่งเป็นเยื่อบุที่กั้นผนังร่างกายจากช่องภายในลำตัว

ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle )

เป็นชั้นที่บางที่สุด เป็นชั้นที่ไม่มีเซลล์ ไม่มีสี และโปร่งใส ประกอบด้วยคิวติเคิล 2 ชั้น หรือมากกว่า แต่ละชั้นประกอบด้วยเส้นใย โปรตีนคอลลาจีเนียส ที่สานเข้าด้วยกันและมีชั้นของ โฮโมจีเนียส จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีโพลีแซคคาไรด์ และมีเจลลาติน เล็กน้อย ในชั้นคิวติเคิลจะมีบริเวณที่บางที่สุด คือ บริเวณที่มีอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งบริเวณนี้จะมีรอยบุ๋มของรูขนขนาดเล็กมากมายและมีขนละเอียดออกมาจากรูดัง กล่าว เป็นเซลล์รับความรู้สึก

ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis)

คือเซลล์ชั้นเดียวที่เกิดจากเซลล์หลายชนิดที่แตกต่างกันรวมเข้า ด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ค้ำจุนที่มีรูปร่างเป็นแท่ง และเซลล์ต่อม โดยเซลล์ค้ำจุนเป็นเซลล์โครงสร้างหลักของชั้นอิพิเดอร์มิส ที่มีรูปร่าง เป็นแท่งเซลล์แท่งดังกล่าว 

นอกจากเป็นเซลล์โครงสร้างค้ำจุนแล้วยังเป็นเซลล์ที่สร้างสารคิวติเคิลให้กับ ชั้นคิวติเคิลด้วย สำหรับเซลล์ต่อม จะมีอยู่ 2 แบบ คือเซลล์เมือก ( Goblet cell ) และเซลล์ต่อมไข่ขาว ( Albumen cell ) โดยเซลล์ขับเมือกเหล่านี้จะขับเมือกผ่านไปยังผิวคิวติเคิล เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกจากตัว ทำให้ลำตัวชุ่มชื่นและเคลื่อนไหวในดินได้สะดวกและทำให้ออกซิเจนละลายใน บริเวณผนังลำตัวได้ และยังมีกลุ่มเซลล์รับความรู้สึกรวมกันเป็นกลุ่มแทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ค้ำ จุน ซึ่งจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของการสัมผัสสิ่งต่างๆ

ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )

เป็นชั้นกล้ามเนื้อที่ถัดจากชั้นอิพิเดอร์มิส ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่ขยายรอบๆ ลำตัวของไส้เดือนดิน ยกเว้นบริเวณตำแหน่งร่องระหว่างปล้องจะไม่มีเส้นใยกล้ามเนื้อนี้อยู่ เส้นใยกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงจะมีการจัดเรียงเส้นใยเป็นระเบียบกลายเป็น กลุ่มเส้นใย โดยเส้นใยแต่ละกลุ่มจะถูกล้อมรอบด้วยแผ่นเนื้อเยื่อเชื่อมต่อรวมกลุ่มเส้นใย แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ
ลักษณะอวัยวะภายในไส้เดือน

ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle )

อยู่ใต้ชั้นกล้ามเนื้อตามขวาง มีความหนามากกว่ากล้ามเนื้อรอบวง โดยกล้ามเนื้อชั้นในจะเรียงตัวเป็นกลุ่มลักษณะคล้ายบล็อก รอบลำตัวและยาวต่อเนื่องตลอดลำตัว

1.ขนแข็ง ( Setae )
2.ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle )
3.ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis )
4.ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )
5.ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle )

ระบบย่อยอาหารของไส้เดือน

ทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน มีรูปร่างเป็นหลอดตรงธรรมดา ที่เชื่อมต่อจากปากในช่องแรกยาวไปจนถึงทวาร ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะดังนี้

1.ปาก ( Mouth ) อยู่ใต้ริมฝีปากบน เป็นทางเข้าของอาหาร นำไปสู่ช่องปากซึ่งจะเป็นบริเวณที่มีต่อมน้ำลายผลิตสารหล่อ ลื่นอาหารที่กินเข้าไป ช่องปากจะอยู่ในปล้องที่ 1- 3

2.คอหอย ( Pharynx ) เป็นกล้ามเนื้อที่หนา และมีต่อมขับเมือก ตั้งอยู่ระหว่างปล้องที่ 3 ถึงปล้องที่ 6 ไส้เดือนดินใช้คอหอยใน การดูดอาหารต่างๆ เข้าปากโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงดูดให้อนุภาคอาหารภายนอกผ่านเข้าไปในปาก

3.หลอดอาหาร ( Esophagus ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 6 ถึงปล้องที่ 14 มีต่อมแคลซิเฟอรัส ช่วยดึงไออน ของแคลเซียมจากดินที่ปนมากับอาหารจำนวนมากนำเข้าสู่ทางเดินอาหาร เพื่อไม่ให้แคลเซียมในเลือดมากเกินไป เฉพาะพวกที่กินอาหารที่มีดินปนเข้าไปมากๆ เท่านั้นจึงจะมีต่อมแคลซิเฟอรัส ต่อจากหลอดอาหารจะพองโตออกเป็นหลอดพักอาหาร มีลักษณะเป็นถุงผนังบางๆ และ กึ๋น ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และ ทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียดเพื่อส่งต่อไปยังลำไส้

4.ลำไส้ ( Intestine ) มีลักษณะเป็นท่อตรงที่เริ่มจากปล้องที่ 14 ไปถึงทวารหนัก ผนังลำไส้ของไส้เดือนดินค่อนข้างบางและผนังลำไส้ด้านบนจะพับเข้าไปข้างใน ช่องทางเดินอาหารเรียกว่า 
-Typhlosole ทำให้มีพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้นโดย สำหรับไส้เดือนน้ำจืดไม่มี 
-Typhlosole ผนังลำไส้ประกอบด้วยชั้นต่างๆ คือเยื่อบุช่องท้อง วิสเซอรอล อยู่ชั้นนอกสุดของลำไส้ ติดกับช่องลำตัว เซลล์บางเซลล์บนเยื่อนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์คลอราโกเจน ทำหน้าที่คล้ายตับของสัตว์ชั้นสูง คือสังเคราะห์และสมสมสารไกลโคเจน ไขมัน โดยเซลล์ไขมันในเนื้อเยื่อคลอราโกเจนที่มีขนาดโตเต็มที่จะหลุดออกมาอยู่ใน ช่องลำตัวเรียกว่า Eleocytes ซึ่งจะกระจายไปยัง อวัยวะต่างๆและยังมีหน้าที่รวบรวมของเสียจากเลือดและของเหลวในช่องลำตัวโดย เป็นตัวดึงกรดอะมิโน ออกจากโปรตีน สกัดแอมโมเนีย ยูเรีย และสกัดสารซิลิกาออกจากอาหารที่กินเข้าไปแล้วขับถ่ายออกนอกร่างกายทางรูขับ ถ่ายของเสียหรือเนฟริเดีย ถัดจากเยื่อบุช่องท้องวิ สเซอรอลจะเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อในลำไส้ของไส้เดือนดินประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชั้น คือชั้นในเป็นกล้ามเนื้อเส้นรอบวงและชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว ซึ่งสลับกันกับกล้ามเนื้อของผนังร่างกาย และชั้นในสุดของลำไส้จะเป็นเยื่อบุลำไส้ ซึ่งประกอบด้วย เซลล์รูปแท่งและเซลล์ต่อม ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยชนิดต่างๆ

ระบบขับถ่าย

อวัยวะขับถ่ายของเสียหลักในไส้เดือนดินคือ เนฟริเดีย ( Nephridia ) ซึ่งเป็น อวัยวะที่ทำหน้าที่แยกของเสียต่างๆออกจากของเหลวในช่องลำตัวของไส้เดือนดืนแต่ละปล้อง ของไส้เดือนดินจะมี nephridia ที่เป็นท่อขดไปมาอยู่ปล้องละ 1 คู่ ทำหน้าที่รวบรวมของเหลวในช่องตัวจากปล้องที่อยู่ถัดไปทางด้านหน้าของลำตัว ของเหลวในช่องตัวจะเข้าทางปลายท่อ nephrostome ที่ มีซิเลียอยู่โดยรอบ แล้วไหลผ่านไปตามส่วนต่างๆของท่อ น้ำส่วนใหญ่พร้อมทั้งเกลือแร่บางชนิดที่ยังเป็นประโยชน์จุถูกดูดซึมกลับเข้า สู่กระแสเลือด ส่วนของเสียพวกไนโตรจินัสเบสจะถูกขับออกสู่ภายนอกทางช่อง nephridiopore ที่อยู่ทางด้านท้อง

ระบบหมุนเวียนเลือดของไส้เดือน

เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดที่ยังไม่แบ่ง เส้นเลือดแดง และ เส้นเลือดดำ โดยไส้เดือนดินจะใช้เส้นเลือด ( Vessel ) ในการกระจายเลือดไปทั่วร่างกายโดยตรง ซึ่งในระบบการลำเลียงเลือดของไส้เดือนดิน ประกอบด้วยเส้นเลือดหลักอยู่ 3 เส้น คือเส้นเลือดกลางหลัง เส้นเลือดใต้ลำไส้ และเส้นเลือดด้านท้องและด้านข้างของเส้นประสาท โดยเส้นเลือดทั้ง 3 จะทอดตัวไปตลอดความยาวของลำตัว นอกจากนี้จะมีเส้น เลือดด้านข้าง ซึ่งเป็นเส้นเลือดเชื่อมระหว่างเลือดกลางหลังกับเส้นเลือดใต้ลำไส้ในช่วง 13 ปล้องแรก เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่บีบหดตัวได้ดีมาก เรียกว่าหัวใจเทียม ( Pseudoheart ) น้ำเลือด จะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่หรือาจไม่มีก็ได้

ระบบการแลกเปลี่ยนกาซ

ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินไม่มีอวัยวะ พิเศษที่ใช้ในการหายใจ แต่จะมีการแลกเปลี่ยนกาซผ่านทางผิวหนังโดยไส้เดือนดินจะขับเมือกและของเหลว ที่ออกมาจากรูขับถ่ายของเสียเพื่อเป็นตัวทำละลายออกซิเจนจากอากาศแล้วซึม ผ่านผิวตัวเข้าไปในหลอดเลือดแล้ว ละลายอยู่ใน น้ำเลือดต่อไป

ระบบประสาท

ระบบประสาทของไส้เดือนดิน ประกอบสมองที่มีลักษณะเป็นสองพู เพราะเกิดจากปมประสาทด้านหน้าหลอดอาหารมาเชื่อมรวมกันอยู่เหนือหลอดอาหาร ปมประสาทสมอง 1 คู่ อยู่เหนือคอหอยปล้องที่ 3 เส้นประสาทรอบคอหอย 2 เส้น อ้อมรอบคอหอยข้างละเส้น เส้นประสาทใหญ่ด้านท้องจะมี ปมประสาทที่ปล้องประจำอยู่ทุกปล้อง ไส้เดือนดินยัง ไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกใดๆ มีเพียงเซลล์รับความรู้สึก ( Sensory Cells ) ที่กระจายอยู่บริเวณผิวหนัง โดยเซลล์รับความรู้สึกแต่ละเซลล์จะมีขนเล็กๆ ยื่นออกมาเพื่อรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเซลล์รับความรู้สึกเหล่านี้เชื่อมต่อกับระบบประสาท นอกจากเซลล์รับความรู้สึกแล้ว ยังมีเซลล์รับแสง ( Photoreceptor cells ) ในชั้นของเอพิเดอร์มิส โดยจะมีมากบริเวณริมฝีปากบน ปล้องส่วนหัวและส่วนท้ายของลำตัว มีหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงไปยังระบบประสาท ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปพวกมันจะเคลื่อนที่หนีเข้าไปอยู่ในที่มืด

ระบบสืบพันธุ์

ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีทั้งรังไข่และอัณฑะ อยู่ในตัวเดียวกัน โดยทั่วไปจะไม่ผสมในตัวเองเนื่องจากตำแหน่งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศไม่ สัมพันธ์กัน และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน

อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย

-อัณฑะ ( Testes ) ลักษณะเป็นก้อนสีขาวขนาดเล็กยื่นออกมาจากผนังของปล้อง ปากกรวย รองรับสเปิร์ม ( Sperm funnel ) เป็นช่องรับสเปิร์มจากอัณฑะ
-ท่อนำ สเปิร์ม ( Vas deferens ) เป็นท่อรับสเปิร์มจากปากกรวยไป ยังช่องสืนพันธุ์เพศผู้
-ต่อมพรอสเตท ( Prostate gland ) เป็นต่อมสีขาวขนาดใหญ่มีรูปร่าง เป็นก้อนแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างของเหลวหล่อเลี้ยงสเปิร์ม
-ช่องสืบ พันธุ์เพศผู้ ( male pores ) มี 1 คู่ อยู่ตรงด้านท้องปล้องที่ 18
-ถุงเก็บ สเปิร์ม ( Seminal Vesicles ) มี 2 คู่ เป็นถุงขนาใหญ่อยู่ในปล้องที่ 11 และ 12 ทำหน้าที่เก็บและพัฒนาสเปิร์มที่สร้างจากอัณฑะ

อวัยวะสืบ พันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย

-รังไข่ ( Ovaries ) ทำหน้าที่สร้างไข่ 1 คู่ ติดอยู่กับเยื่อ กั้น ( Septum ) ของปล้องที่12/13 ใน Pheretima ไข่จะเรียงตัวกันเป็นแถวอยู่ในพูรังไข่
-ปากกรวย รองรับไข่ ( Ovarian funnel ) ทำหน้าที่รองรับไข่ที่ เจริญเต็มที่แล้วจากถุงไข่
-ท่อนำไข่ ( Oviducts ) ท่อนำไข่เป็นท่อที่ต่อจากปากกรวยรองรับไข่ในปล้องที่ 13 เปิดออกไปยังรูตัวเมีย ตรงกึ่งกลางด้านท้องของปล้องที่ 14
-สเปิร์มมาทีกา ( Spermatheca หรือ Seminal receptacles ) เป็นถุงเก็บสเปิร์มตัวอื่นที่ได้จากการจับคู่แลกเปลี่ยน เพื่อเก็บไว้ผสมกับไข่ มีอยู่ 3 คู่
อบรมเลี้ยงไส้เดือน

จากข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน นั้นเป็นรายละเอียดที่น่าสนใจ เพราะเรามักจะนึกไม่ถึงขนาดนั้น เมื่อได้อ่านแล้วหวังว่าหลายท่านคงจะได้รู้จัก ไส้เดือน มากยิ่งขึ้นและสามารถเข้าใจธรรมชาติของมันมากขึ้นด้วย
Source : บางส่วนจากหนังสือไส้เดือน ของ ดร.อานัฐ ตันโช

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ข้อมูลและลักษณะของไส้เดือน"

แสดงความคิดเห็น