ปัญหาของ การรับซื้อยางพารา จากเกษตรกรสวนยางโดยตรง

ปัญหาของ การรับซื้อยางพารา จากเกษตรกรสวนยางโดยตรง


ปัญหาของ การรับซื้อยางพารา จากเกษตรกรสวนยางโดยตรง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะความหวังดี แม้ว่ารัฐบาลต้องการจะช่วยให้ราคาแพงขึ้น แต่ในความเป็นจริงก็ช่วยได้เพียงนิดหน่อย สาเหตุเป็นเพราะอะไร มาดูกัน

โครงการที่รัฐช่วยเหลือด้าน ราคายางพารา มีอะไรบ้าง

เนื่องด้วยความต้องการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ จนทำให้มีกลุ่มเกษตรกรออกมาเสนอข้อเรียกร้อง จนรัฐบาลมีหลายมาตรการมาช่วยเหลือคือ

ช่วยเหลือราคายางพารา

1. ไร่ละ 1,500 บาท โดยให้เจ้าของสวน 900 บาท คนกรีด 600 บาท
2. โครงการรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ครอบครัวละไม่เกิน 150 กก.
3. มาตรการส่งเสริม การใช้ยางพารา เพื่อสร้างความต้องการใช้ (Demand)

ส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีที่ทั้งนั้นแหละ เพียงแต่อาจจะมีปัญหาบางประการอยู่บ้าง

ปัญหาของโครงการช่วยเหลือของรัฐมีอะไรบ้าง

อยากจะขอนำเอา ปัญหาของโครงการช่วยเหลือของรัฐ จนทำให้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ในความเห็นส่วนตัว มีดังนี้

1. การช่วยเหลือโดย จ่ายเงินให้ไร่ละ 1,500 บาท โดยให้เจ้าของสวน 900 บาท คนกรีด 600 บาท ในความเป็นจริง ทุกคนที่เป็นคนกรีดในหมู่บ้านผม ไม่มีใครได้เลย เพราะ
-ตอนไปประชุม ปธ.สหกรณ์ อำเภอบอกว่า ให้คนกรีดกลับไปบ้านได้ ให้ลงทะเบียนเฉพาะเจ้าของสวนก็พอ
-ผลคือ พอได้เงินมาแล้ว เจ้าของสวนอ้างว่า เอาไว้เป็นค่าปุ๋ยค่ายา
-คนกรีดพูดไม่ออก เพราะกลัวว่าจะไม่ได้กรีด ไม่ได้ทำงานต่ออีก
-ได้เฉพาะผู้มีเอกสารสิทธิ์ เท่านั้น

2. โครงการรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ครอบครัวละไม่เกิน 150 กก. อันนี้ยิ่งหนักไปใหญ่ เพราะทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจาก
-ไม่คุ้มทุนในการบรรทุกไปขายไกลๆ
-ไปแล้วไม่ได้ขาย เพราะถูกบอกว่า ยางไม่ได้มาตรฐาน
-ได้เฉพาะผู้มีเอกสารสิทธิ์ ที่ลงทะเบียนแล้ว และมีบัตรแล้วเท่านั้น

3.มาตรการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการนำเอายางไปผลิดสิ่งของเครื่องใช้ ข้อนี้ผมสนับสนุนนะ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ยั่งยืน แต่ขอให้ผลิตสิ่งที่มีมาตรฐานสูงหน่อยอย่าทำแค่ส่งๆ ไม่อย่างนั้นคนเลิกนิยม ก็หยุดกิจการไปแค่นั้น หรือไม่ก็อาจจะหันไปทำอย่างอื่นแทนเสีย ก็แย่เลย เพราะรัฐบาลเสียงบสนับสนุนไปแล้ว

โดยรวมแล้วปัญหาเรื่องการแก้ราคายางของรัฐบาลเกิดจากคนภายในด้วย

นั่นก็คือ คนของ กยท. เองนั่นแหละ เพราะผมไปร่วมขายยางทีไรก็เห็นมาให้ข้อมูลโน่นนี่ เสร็จแล้วก็บอก ผมว่านะ อย่าทำเลย ประมาณนี้ เช่น การรวมกลุ่มกันขายในระบบสหกรณ์ ก็บอกให้ เราไม่ต้องเข้าสหกรณ์ก็ได้ แค่รวมกันเป็นกลุ่มขายยางก็พอ, นอกจากไปลงทะเบียนกับกยท.แล้ว ให้มาลงที่.... ก็ได้นะ เผื่อนวันหน้ามีอะไรจะได้คุยกัน เป็นต้น หลายอย่าง ผมว่า คนของ กยท. เป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานของรัฐบาลอืด ฝึด ไม่เป็นไปตามแผน

ส่วนของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากการผลิตยางแต่ละแห่งของชาวสวน เกิดจากการเรียนรู้ที่ต่างกัน ทำให้ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องไปขายให้พ่อค้าข้างนอก ซึ่งก็โดนกดราคาเยอะมาก เช่น ราคาประกาศรับซื้อ 34 บาท จะโดนหักค่าความชื้นและค่าดำเนินการไปอีก จะขายจริงได้ที่ราคา 13-14.50 บาท แค่นั้นเอง 

การมี โครงการ รับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง นี้มีข้อดีเยอะอยู่ แต่เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด อย่างที่ได้เรียกร้องกันไป

การที่มีหลายคนอยากให้ปลูกอะไรไว้ในสวนยางด้วย จะได้มี อาชีพหลายอย่าง หรือ มีส่วนประเภทอื่น ช่วยเรื่องการประหยัดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขอบอกเลยว่า ยางที่โตแล้ว มีไม้ที่สามารถปลูกใต้ร่มเงาได้ไม่กี่ชนิดเอง ลองเข้าไปอ่านเรื่อง การปลูกพืชร่วมยาง ดูครับ (คลิกที่ลิงค์) แล้วจะได้เข้าใจ

เพิ่มเติม (29 กุมภาพันธุ์ 2559) ข่าว รัสเซียรับซื้อยางพาราไทย 8 หมื่นตัน/ปี

ดังนั้น ปัญหาของ การรับซื้อยางพารา จากเกษตรกรสวนยางโดยตรง ที่เกิดขึ้น เหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่กระทบต่อ เกษตรการชาวสวนยาง อย่างมาก เพราะกลายเป็นตัวถ่วงเป็นจำเลยของสังคมไปเสียอย่างนั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว เราทำกัน "ตามนโยบายของรัฐบาล" ที่ส่งเสริมให้ทำ เราคือ ผู้สนองนโยบายโดยแท้ แต่กลับโดนตำหนิดมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ขอให้พี่น้องชาวสวนยางเราสู้ต่อไปครับ หาอาชีพเสริม และประหยัดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ด้วยการประหยัดต้นทุน ด้วยนะครับ

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ปัญหาของ การรับซื้อยางพารา จากเกษตรกรสวนยางโดยตรง"

แสดงความคิดเห็น