ป่าไม้กับชาวเกษตรแบบเรา

วันหนึ่งได้แอบฟังผู้มีหน้าที่ในการรักษาป่า คุยกัน

เขาบอกว่า พูดถึงการปลูกยางพารานั้นเป็นเรื่องดีที่ทำให้คนไทยมีอาชีพ มีรายได้ แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกัน ซึ่งบางทีเราก็คิดไม่ถึง

การที่ต้นยางพาราเป็นเหมือนต้นสักขาว เพราะสร้างเงินให้ผู้คนได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็เหมือนเป็นดาบสองคม สาเหตุ ก็เพราะว่า ที่ดินมีค่ามากขึ้น ทำให้ชาวบ้านรุกป่า แผ้วถางป่า แล้วปลูกยางพารา พอปลูกยางแล้ว ก็จะมีนายทุนมาซื้อ ชาวบ้านก็ขายสวนนั้นไป แล้วนำเงินไปซื้ออะไรต่อมิอะไร พอเห็นแนวทางที่จะทำเงิน ก็คือ แผ้วถางบุกรุกป่าต่อไป ซึ่งก็จะเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้เสียพื้นที่ป่าไป


ท่านบอกว่า ถ้าชาวบ้านแผ้วถามหรือบุกรุกแล้วทำกินด้วยตัวเองหรือทำการเกษตรจริงๆ เขาก็ไม่ได้ใจจืดใจดำไล่ออกจากที่หรอก แต่นี่เล่นขายให้นายทุน นำไปทำประโยชน์ด้านอื่น จึงต้องมีการจับกุมเหมือนที่เขาใหญ่ นั่นแหละ

ต้นยางฯ ไม่ได้เป็นต้นไม้ที่ดีนัก เพราะว่า มันเป็นพืชเชิงเดี่ยว ปลูกได้ชนิดเดียว และจะทึบเฉพาะข้างบนส่วนด้านล่างโล่งเตียนทั้งหมด พืชชนิดอื่นขึ้นไม่ได้แม้แต่หญ้ายังต้องถูกกำจัด ทีนี้ เมื่อฝนตกลงมา น้ำก็หลากลงไปไม่สามารถกักหรือดูดซึมน้ำไว้ได้

การปลูกเป็นสวนในพื้นที่ราบ จะเป็นส่วนที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากว่า ต้นยางพาราไม่มีรากแก้ว หากปลูกบนที่เนินสูงเกินไปจะมีผลเสีย เพราะเมื่อมีลมแรงๆ ก็มีโอกาสล้ม เมื่อล้มก็จะทำให้เป็นเหมือนโดมิโน ราบเป็นหน้ากลอง อีกนัยหนึ่งอาจพูดได้ว่าเหมือนขนมชั้น นั่นคือ หน้าดินเปิดแล้วหน้าดินจะเปิดและสไลด์หรือไหลลงไปกองกันหมด

และได้ฟังอะไรอีกเยอะ แต่ขอกล่าวถึงเฉพาะตรงนี้ครับ

ที่จริงในวันนั้นได้พูดถึงกันในเรื่องต้นพยูง ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ขอเล่าย่อๆ ว่า คนจีนต้องการมากจำนวนประชากรก็มีเยอะ จึงรับซื้อไม่อั้น แล้วนายทุนหลักก็คือชาวเวียดนาม ได้มีใบสั่งมาเป็นทอดๆ แล้วในเมืองไทย ก็บรรดาเจ้าหน้าที่มีการรูปเห็นเป็นใจ จึงทำให้เอาออกจากป่าได้ ผ่านด่านได้ นั่นและที่เป็นสาเหตุให้ไม้พยูงของไทยเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังดี ที่ตอนนี้ กรมป่าไม้ได้มีนโยบายในการขยายพันธ์ไม้พยูงไปแจกให้ชาวบ้านปลูก เพื่อจะได้รักษาไว้ต่อไป

ฝากคำถามว่า ชาวบ้านเรา รุกป่าเพื่ออะไร? ควรทำแค่ไหน?

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ป่าไม้กับชาวเกษตรแบบเรา"

แสดงความคิดเห็น