สูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา

สูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา


วันนี้อยากนำเสนอ สูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา ตามที่ผมเคยกล่าวเอาไว้ในหลายที่เรื่องเกี่ยวกับการจะเป็น เกษตรกรมืออาชีพ ต้องรู้จักการหาความรู้และหาวิธีลดต้นทุนให้ได้ แล้วรายได้จากการขายก็จะเหมือนกับเราได้เยอะขึ้นเองแหละครับ

ภาพน้ำหมักจากปลา ขอบคุณ Bansuanparpeang

สิ่งที่ต้องเตรียมในการทำน้ำหมักปลา

-ปลา เศษปลา
-พด.2
-กากน้ำตาล
-ถังน้ำขนาด 100 ลิตร
-น้ำ

ขั้นตอนการทำน้ำหมักปลา

1. วิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา นั้นแน่นอนเลยคือ เราต้องมีพวกเศษปลา หัวปลา พุงปลา หัวกุ้ง เปลือกกุ้ง ปลาเป็นตัว ก็ได้ทั้งนั้น ทั้งจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือสามารถหามาได้ กะเอาโดยประมาณสัก 25 - 30 กิโลกรัม ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องสับ หรือหั่นใดๆ นะครับ ขั้นตอนต่อไป
2. นำเอาวัสดุตามข้อ 1 มาคลุกกับกากน้ำตาล ให้เข้ากันเพื่อให้การย่อยสลายได้ไวขึ้น
3. เมื่อคลุกเสร็จแล้วก็ให้น้ำไปเทใส่ถังน้ำขนาด 100 ลิตร แบบมีฝาปิดจะดีมาก
4. หลังจากนั้นให้นำน้ำอีกส่วนหนึ่ง(หนึ่งกระแป๋ง หรือสักสิบลิตร) เพื่อละลาย พด.2 ให้เท พด.2 ลงในน้ำแล้วกวนด้วยไม้ให้เข้ากัน ประมาณ 5 นาที ตามคำแนะนำที่มีไว้ข้างซอง พด.2
4. เมื่อกวนเข้ากันแล้วก็เทใส่ถังขนาด 100 ลิตรน้ำ แล้วกวนอีกครั้ง
5. ใช้เวลาในการหมัก 30 วัน

ในช่วงอาทิตย์แรกนั้นให้กวนทุกวัน จะได้พลิกเศษปลาไปมา แล้วอาทิตย์ต่อๆ มา ก็กวนเพียงครั้งคราวแต่ไม่จำเป็นต้องกวนบ่อยเกินไป ทั้งนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะเหม็นคาว จนทำให้คนอื่นรำคาญนะครับ ยิ่งเราใส่กากน้ำตาลด้วยแล้วจะยิ่งทำให้หอมเลยก็ว่าได้ อาจจะมีกลิ่นปลาอยู่บ้างแต่ไม่ใช่เป็นกลิ่นแบบปลาเน่า แบบเรียกแมลงวันมาตอมอย่างแน่นอนครับ

ยังมีสูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลาหรือเศษปลาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็ใช้วัสดุแบบเดียวกับสุตรแรก แต่ส่วนผสมอาจจะแตกต่างกันจากสูตรที่สองนี้บ้าง ดังนั้นก็ดูตามความสะดวกและความเหมาะสมของแต่ละคนนะครับ

1. ปลาหรือเศษปลาประมาณ 10-20 กิโลกรัม
2. น้ำส้มสายชู ประมาณ 400-500 ซีซี บางคนอาจจะใช้กรดฟอสฟอริคได้ผลดีเหมือนกัน
3. น้ำตาลแดง หรือกากน้ำตาล 10-20 กิโลกรัม
4. น้ำ เติมจนเต็มถัง200 ลิตร

การนำเอาน้ำหมักปลาไปใช้

ใช้ผสมกับน้ำ กะเอาน้ำหมักประมาณ 5 ซีซี ต่อต้นไม้หนึ่งต้น

สูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะได้น้ำหมักปลาที่มีคุณภาพนำไปใช้ได้อย่างดี หากต้องการจะทำการหมักถึงใหม่อีกก็ให้น้ำเอาปลาและน้ำหมักจากถังแรกมาใส่ร่วมด้วย ก็จะทำให้การย่อยสลายได้ดีและเร็วมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ พด.2 อีกแล้ว ก็จะเหมือนกระบวนการในการขยายน้ำ EM นั่นแหละครับ หากทำได้ ก็จะสามารถลดต้นทุนทางการเกษตรได้


Taq: ปุ๋ยชีวภาพ, ปุ๋ยอินทรีย์, สูตรวิธีการทำน้ำมักจากปลา เศษปลา. น้ำหมักชีวภาพ

3 Responses to "สูตรวิธีการทำน้ำหมักจากปลา เศษปลา"

  1. คำตอบ
    1. พด.3 เป็นสารเร่ง ที่มีชื่อเต็มว่า "สารเริ่งซุปเปอร์ พด.3" ซึ่งใช้สำหรับผลิตเชื่้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุดครรากและโคนเน่าของพืช
      นั่นคือ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ กำจัดโรครากและโคนเน่านั่นเองครับ
      ส่วน พด.2 เป็นสารเร่งเพื่อเร่งการหมักในการผลิตน้ำหมักครับ

      สารเร่ง พด. สามาถไปขอได้ฟรี!!!!! จาก กรมพัฒนาที่ดิน หรือ ที่ดินอำเภอทุกแห่งครับ

      (พด. ย่อมาจาก กรมพัฒนาที่ดิน)

      ขออภัยอย่างแรง ที่ผมลงวรรคสุดท้ายผิดว่า "พด.3" ที่จริงต้องเป็น "พด.2" ครับ (แก้แล้ว) ขอบคุณที่ถามมาครับ

      ลบ
    2. ดูภาพของ พด. แต่ละชนิดที่ ลิงค์นี้ครับ http://para-buy.blogspot.com/2015/07/Fertiliser.html

      พด.2 ขอบซองเป็นสีน้ำเงิน
      พด.3 ขอบซองเป็นสีเขียว

      ลบ