การเลี้ยงกบ4: บ่อและการสร้างบ่อ

บ่อและการสร้างบ่อ
เราสามารถเลี้ยงกบได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีวิธีการทำและข้อดีข้อเสียต่างกันดังต่อไปนี้

1. บ่อดิน
 นิยมใช้แต่เดิมมา ขนาดของบ่อตามความเหมาะสม โดยสร้างผนังบ่อสูงประมาณ 1.20-1.50 เมตร ด้วยอิฐบล็อก คอนกรีต กระเบื้อง สังกะสีหรือไม้ไผ่ผ่าซีก ขุดบ่อน้ำตรงกลาง ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กบกระโดดลงเมื่อตื่นตกใจ และใส่พืชน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในร่องร้อนเกินไป และจัดหาวัสดุให้กบได้ใช้หลบซ่อน เช่น ยางรถยนต์ กระเบื้องลอน อิฐบล็อก ท่อน้ำ และกระบอกไม้ไผ่ และควรปลูกพืชผักสวนครัวเช่น ตะไคร้ กระเพรา โหระพา เพื่อให้เป็นร่มเงาป้องกันความร้อน และใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้

ข้อเสียของบ่อแบบนี้คืออาจมีการรั่วซึมของบ่อน้ำ กบหลบซ่อนอยู่ในรูหรือจำศีลโดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวต่อหน้าฝน บางครั้งอาจทับกันทำให้ตายได้ จึงมีการพัฒนาเป็นแบบบ่อคอนกรีตซึ่งสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

2.บ่อคอนกรีต
บ่อเลี้ยงกบควรจะสร้างด้วยคอนกรีต หรือวัสดุอี่น ๆ ที่มีความแข็งแรงพอสมควร สามารถป้องกันไม่ให้กบหนี และป้องกันศัตรูจากภายนอกไม่ให้เข้าไปทำลายกบได้ บ่อเลี้ยง กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ

1.บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ส่วนบ่อกลม ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เมตร

2.บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำชานบ่อทางด้านกว้างทั้ง 2 ด้านให้ชานบ่อยาว 30 เชนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร โดยให้ชานลาดเอียงสู่กลางบ่อ ส่วนทางด้านยาวทำลาดเอียงสู่ท่อระบายน้ำ ส่าหรับบ่อกลมพื้นบ่อควรลาดเอียงสู่จุดศูนย์กลางของบ่อซึ่งเป็นที่ระบายน้ำทิ้งมีดวามลึกประมาณ 12 เชนติเมตร 

3.คันบ่อ ควรสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และกั้นด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันกบกระโดดออกจากบ่อเลี้ยง 

4.หลังคาควรมีหลังคาคลุมบ่อเลี้ยงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเนื้อที่บ่อหลังคาจะช่วยบดบังแสงแดดและป้องกันมิให้กบตกใจด้วย 
ส่าหรับการสร้างบ่อเลียงกบด้วยคอนกรีตนั้น หลังจากการสร้างบ่อเสร็จน้ำในบ่อจะมีสภาพเป็นด่างมากยังไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงกบ ให้แก้ไขโดยใช้สารส้มหนัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำในบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงถ่ายน้ำทิ้งแล้วขัดให้สะอาดด้วยแปรง ตากบ่อให้แห้งเติมน้ำใหม่ลงไปก็เริ่มใช้เลี้ยงกบได้ ข้อควรระวังดืออย่าตากบ่อคอนกรีต ไว้นานจะทำให้บ่อแตกร้าวได้ 

การนำกบเข้ามาเลี้ยง
กบที่คัดมาจากบ่ออนุบาลที่มีขาครบ 4 ขา จะนำมาเลี้ยงในบ่อระยะสุดท้ายเพื่อส่งตลาด มีหลักปฏิบัติดังนี้คือ 

1.ก่อนการปล่อยกบลงสู่บ่อเลี้ยง 
ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงให้เรียบร้อย ใส่น้ำสะอาดลงในบ่อเลี้ยงให้สูง 30 เชนติเมตร 

2.การปล่อยกบลงเลี้ยง 
ควรปล่อยกบที่มีขนาดเท่ากันคือประมาณ 1.5-2.0 นิ้ว เลี้ยงในอัตรา 100 ตัวต่อตารางเมตร ในการปล่อยกบนั้นควรวางภาชนะไว้บนชานบ่อสักพักหนึ่งแล้ว เปิดภาชนะ เอียงให้กบออกจากภาชนะที่ใส่ลงสู่บ่อเลี้ยงเอง 

3.การให้อาหาร
ควรให้อาหารกบเป็นเวลาคือ เช้าและเย็น อาหารที่ให้เป็นพวกปลาสับ เครื่องในสัตว์หรืออาหารเม็ดของปลาดุกให้ 2 มื้อ คือเช้า เย็น ปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 3 เปอร์เช็นต์ของน้ำหนักตัว 

4.การตรวจขนาด 
ควรมีการตรวจขนาดกบอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยวัดความยาวของลำตัวและ ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของกบ และเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ หากการเจริญ เติบโตของกบไม่ดีพอ ควรพิจารณาถึงปริมาณและคุณค่าของอาหารที่ให้ว่าเหมาะสมหรือไม่ 

5.การตรวจสภาพบ่อ 
บ่อเลี้ยงกบอาจมีการรั่วซึมหรือมีรอยรั่วควรมีการซ่อมแซมแก้ไข

6.การถ่ายเทน้ำ 
น้ำที่สะอาดและมีการไหลผ่านตลอดเวลาจะทำให้กบกินอาหารได้ดี เจริญเติบโต ได้รวดเร็วแต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่อย่างน้อยควรมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำวันละครั้ง 

7.การคัดขนาด 
คัดเลือกกบที่มีขนาดโตเท่า ๆ กัน เลี้ยงรวมไว้ด้วยกัน จะช่วยให้การเจริญเติบโต ดีขึ้น และการกัดกินกันเองลดลง 

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "การเลี้ยงกบ4: บ่อและการสร้างบ่อ"

แสดงความคิดเห็น