ปุ๋ยยางพารา
วันนี้เกษตรกรพอเพียง อยากจะนำเอาเรื่องของ ปุ๋ยยางพารา มาพูดถึงบ้าง เพราะเรายังไม่ได้เข้าใจการใช้ปุ๋ยอีกมากมายหลายด้าน จึงเป็นเหตุให้ผลิตผลที่เราใช้นั้น ไม่ได้ให้ผลผลิตที่เป็นน้ำยางแก่เราอย่างเต็มที่
ควรใส่ปุ๋ยสวนยางพาราเมื่อไร?
ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ยสวนยางพารา ก็เป็นไปตามที่หน่วยงานวิชาการของทางการ ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์การเกษตร กรมวิชาการเกษตรและอื่นๆ ได้บอกไว้แล้วว่า ให้ทำการดังกล่าว 2 หนต่อปี นั่นก็คือ
-ช่วงต้นฤดูฝน คือ ระหว่าง ปลายเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
-ช่วงปลายฤดูฝน คือ ระหว่าง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน
สองช่วงระยะเวลานี้เป็นเวลาหลักที่ควรจะใส่ เพราะมีความเหมาะสม ทั้งด้านความชื้นในดินและอากาศ จะเอื้อต่อการละลายของปุ๋ยและการนำปุ๋ยไปใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของต้นยางพารา เป็นอย่างยิ่ง เกษตรกรจึงต้องมีความพร้อมที่จะใส่ปุ๋ยดังกล่าว
จากประสบการณ์ที่ได้ทำสวนยางมานั้น เห็นว่า เกษตรกร ควรจะระวังเรื่องเวลาช่วงปลายฤดูวฝน เพราะหากท่าน ใส่ปุ๋ยให้ยาง ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนธันวาคม ละก็...มีโอกาสที่ปุ๋ยของท่านจะไม่ละลาย คืออาจจะสูญเปล่าได้นะครับ เนื่องจากว่า ระยะเวลาดังกล่าวนั้นเป็นช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้
ใส่ปุ๋ยสวนยางปริมาณเท่าไร
ถ้าเป็นทั่วไป เขาให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งต่อปี ครั้งละ ครึ่งกิโลกรัมต่อต้น แต่นี่เราพิเศษครับ ใส่น้อยๆ แต่หลายรอบ ดูกันต่อไปนะครับ
การใส่ ปุ๋ยยางพารา ช้านั้น มีผลทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางเป็นไปอย่างไม่เต็มที่ กล่าวคือ ต้นยางไม่มีต่างฉัตร หรือ ไม่โป่งยอดเพิ่มสูงขึ้น และมีผลต่อเนื่องอีกอย่างหนึ่งก็คือ พอไม่มียอดใหม่เกิดขึ้น แล้วใบยางก็จะเริ่มร่วงพอดี (ธันวาคม-มกราคม เริ่มต้นการร่วง/ผลัดใบ) จะทำให้การสังเคราะห์แสงหย่อนสมรรถภาพไปประมาณ3 อาทิตย์- หนึ่งเดือน ผมเห็นว่า เป็นการทำให้เราขาดโอกาสที่จะทำให้ต้นอย่างขยายลำต้นและเพิ่มความสูงไปพอสมควร
หลายคนอาจจะคิดว่า เป็นเรื่องแค่นิดหน่อย แต่ลองหมั่นพิจารณาดูครับ ระหว่างสวนยางที่ใส่ปุ๋ยถูกเวลากับผิดเวลา หรือไม่ได้ใส่ปุ๋ยหนหลัง จะมีความแตกต่างกันมาก
สวนยางพาราขาดปุ๋ยเคมีไม่ได้ใช่ไหม?
คำตอบ เป็นทั้ง ใช่ และ ไม่ใช่ใช่ กรณีที่เราไม่ได้บำรุง สวนยางด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอื่นๆ เราต้องใส่ ปุ๋ยเคมี ครับต้นยางถึงจะให้ น้ำยาง
ไม่ใช่ เพราะเราสามารถใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอื่นๆ มาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ แต่...การใช้ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ต้องใช้ปริมาณมากกว่า เพราะในปริมาณที่เรากัน มันจะให้ธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมีมากเลยครับ
ฝากไว้ว่า ถ้าเราใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมี จะทำให้เราสามารถเก็บผลผลิตได้ดีมากขึ้น ว่ากันว่า ให้น้ำยางเป็นจำนวนมากกว่าปกติได้อีก 2 เดือน
จะ ใส่ปุ๋ยสวนยาง มากกว่า 2 หนต่อปีได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ .....เหตุที่กล่าวอย่างนี้ เพราะ เราสามารถใส่บ่อยๆ ได้ แต่ให้ลดจำนวนลงหน่อย สาเหตุเนื่องจากว่า การกินปุ๋ยของพืชนั้น จะสามารถนำมาใช้ได้ในช่วงระยะเวลา 15 - 22 วันเท่านั้น ดังนั้น การแบ่งปริมาณปุ๋ยในการใส่ ก็จะทำให้เราได้ผลผลิตเต็มที่มากขึ้น
ยกตัวอย่าง (ขอสมมุติปริมาณที่น้อยให้ดูนะครับ)
ถ้าสวนยางมีอยู่ 10 ไร่ หากจะใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง อาจจะทำดังนี้
1 ปุ๋ยเคมี 3-4 กระสอบ (= 50 ก.ก.) ส่วนนี้เป็นธาตุอาหารหลัก
2 ปุ๋ยเร่งราก (Mg และ Ca) เช่น ตราหมีเพิ่ม ซิลิก้า ครึ่งกระสอบ = 25 กก.ส่วนนี้เป็นธาตุอาหารรองต้นยางต้องการแต่ไม่มาก
3 ปุ๋ยธาตุรองเสริม เช่น ตราซุปเปอร์โกรว์ 10 -15 กก. หรือ จะเป็น 25 กก.เลยก็ได้ ส่วนนี้เป็นธาตุรองเสริมที่ไม่จำเป็นสำหรับต้นยาง แต่...ขาดไม่ได้ ก็หมายถึงขอให้มีบ้างเพื่อไปเสริมความแข็งแรงและป้องกันโรค ต้องใส่ครับแต่ไม่ต้องมาก
ด้วยปริมาณตัวอย่างที่ให้ไปนี้ เกษตรกรสามารถใส่ได้ 3 - 4 หน ต่อปี ให้หาเวลาในการใส่เองครับ อาจจะ เดือนครึ่งต่อครั้งก็ได้
จากที่ผมได้กล่าวถึงเรื่อง ปุ๋ยยางพารา มานี้คงเป็นประโยชน์สำหรับชาวสวนยางพอสมควรจะครับ ไม่ต้องเชื่อผม แต่ขอให้ลองดูครับ แล้วจะเห็นผลเอง ผมเองก็ค่อยศึกษาทดลองไปเรื่อยๆ เพราะผมรักที่จะทำพวกนี้อยู่แล้ว เนื่องจากเคยเป็นนักวิจัยมาก่อน เลยต้องทำอะไรๆ ที่อาจจะไม่เหมือนคนอื่นบ้างก็ได้ครับ ส่วนใครที่มีอะไรเสนอแนะ ก็ส่งมาได้นะครับ จะได้นำมาแชร์กันต่อไป
0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "ปุ๋ยยางพารา เพื่อให้ได้น้ำยางมาก"
แสดงความคิดเห็น