การทำสวนยางพารา

การทำสวนยางพารา

วันนี้พูดถึงเรื่อง การทำสวนยางพารา กันต่อทางบล็อกเราได้หยุดการเคลื่อนไหวไปนานพอสมควร เนื่องจากมี ความขัดข้องด้านสิ่งแวดล้อมบางประการ ตอนนี้ จะกลับมาเหมือนเดิมแล้วนะครับ

พูดถึงเรื่อง การทำสวนยางพารา หลายท่านที่ได้ติดตามาอ่านบล็อกนี้ของผม คงจำได้ว่า พูดได้สรุปความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดนี้ไว้แล้วว่า อนาคตการทำสวนยาง ยังไม่ได้มืดมนหรอก สาเหตุตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า บรรดาบริษัทใหญ่ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ต่างก็ได้มีการปลูกสวนยางพารากันใหม่อีกแล้ว ขนาดบริษัทที่ไม่เคยทำธุรกิจสายนี้ เขายังหันมาทำกันเลยนะครับ ฉะนั้น อย่าได้ตกใจว่าราคาต่ำ จะไปไม่รอด


ขอให้ผู้ที่มีสวนยางอยู่แล้ว ดูแล และ บำรุงสวนยาง ให้เหมาะสม เพื่อจะได้ต้นยางที่สมบูรณ์ ให้น้ำยางมากนะครับ เพราะยังขายได้เรื่อยๆ หากท่านที่ไม่อยากจะซื้อปุ๋ยตามใจพ่อค้า ลองค้นหาในบล็อกนี้ได้นะครับ มีการแนะนำเรื่อง การลดต้นทุนเกี่ยวกับปุ๋ย การใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง การผสมปุ๋ย/แม่ปุ๋ย การผลิตปุ๋ย การทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพเอง เป็นต้น เยอะแยะครับ

เพื่อให้เข้าใจเรื่องปุ๋ยมากขึ้น แนะนำให้คลิกเข้าไปอ่านเรื่อง ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย นะครับ 
ขออนุญาตเน้นไว้ตรงนี้ ตัวโตๆ แรงๆ ว่า "ซื้อปุ๋ย ให้ดูสูตร อย่าดูชื่อ" เพราะท่านจะหลงทาง ซื้อตามพ่อค้าอยากขาย เช่น เราจะซื้ออีกสูตรหนึ่ง แต่เขาไม่มีขาย ก็จะบอกว่า "ใช้แบบนี้ดีกว่า" หรือ "ได้เหมือนกันนั่นแหละ" อย่าเชียวครับ เชื่อผม (ไม่เชื่อก็ไม่ว่ากัน แฮ่ๆ)

ราคายางพารา

ปีที่แล้ว (2558/2559) ราคายางเริ่มต้นที่ 35 บาทต่อ กก. 
ปีนี้ (2559/2560) เริ่มต้นที่ 24 บาทต่อ กก. ส่วนราคาต่ำสุด ค่อยตามดูกันอีกทีประมาณเดือน มค.-กพ. ครับ

จากราคายางพารา ที่แสดงไว้ข้างบนนี้ เหมือนจะเป็นลางไม่ดีเลยนะครับ ถ้าดูจากราคาเริ่มต้นของฤดูกาล 

แต่ถ้าเรามาคิดอีกแง่หนึ่ง ก็พอใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง เหตุผลคือ
1. รัฐบาล พล.เอก ประยุทธ จันทร์โอชา ได้ส่งเสริมให้มีการนำยางพาราไปใช้ในหลายด้าน และ มีโรงงานเปิดรับซื้อเพื่อผลิตถุงมือ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ทำให้น้ำยางพาราหายไปจากตลาดได้มากพอสมควร
2. ได้มีการยึดคืนพื้นที่สวนยาง ที่บุกรุกป่า และตัดทำลาย รวมถึงการส่งเสริมให้สวนที่ครบกำหนดอายุให้โค่นแล้วปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
3. ญี่ปุ่น เริ่มกลับเข้ามาซื้อยางพาราจากไทยมาขึ้น 
และอื่นๆ อีกหลายเหตุผล จึงทำให้การทำยางยังมีอนาคตอีกต่อไป

การรวมกลุ่มขายยางพารา

การรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อขายยางพารา ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ทำให้เกิดการรวมกันเป็นสหกรณ์ จำนวนมาก ทำให้เกษตรกรเราที่เข้าร่วมกลุ่มประมูลตามสหกรณ์ ได้ขายในราคาที่แพงกว่า พ่อค้าอิสระทั่วไปประมาณ 1-2 บาท 

นับว่าวิธีนี้ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถอยู่ได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ เกษตรจำนวนไม่น้อย ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ ทำให้ยังต้องถูกพ่อค้ากดราคาอยู่เหมือนเดิม

สภาพอากาศ

สภาพอากาศในปีนี้ เหมาะสมอย่างมากในการทำสวนยางพารา เนื่องจากสวนผม เป็นดินทราย และฝนไม่ค่อยตก มาปีนี้ เป็นปีที่มีสภาพมีฝนมากขึ้น (ลานิญญ่า) ทำให้มีน้ำฝนมาหล่อเเลี้ยงตลอด คาดว่า ฝนห่าสุดท้ายน่าจะหลงไปตกที่ปลายเดือนมกราคม 2560 (นะ หวังครับหวัง)

ผลผลิตจากการทำสวนยาง

โดยรวมแล้ว ผลผลิตจากการทำสวนยาง ของส่วนผมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปีก่อน จะอยู่ที่ประมาณ 280-350 กก.ต่อรอบ แต่มีปีนี้ อยู่ที่ 380-430 กก.ต่อรอบ (รอบสุดท้ายที่เพิ่งผ่านไปได้อยู่ 449 กก.) เป็นที่น่าพอใจ

การใช้ปุ๋ยในสวนยาง 

เรื่องเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยในสวนยาง ผมเคยพูดถึงบางส่วนไปแล้ว หลายบทความ สามารถเสิร์ชหาอ่านได้นะครับ 

ส่วนการใช้ปุ่ย ปีนี้ เดี๋ยวจะมาเล่าอีกที เพราะผมเปลี่ยนระบบแล้วครับ ใส่แบบเก่าก็ดีอยู่แล้ว แต่ปีนี้ ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพการณ์ภายนอก เลยเปลี่ยน ส่วนจะเป็นอย่างไร ค่อยติดตามอ่านทีหลังนะครับ ถ้าถามว่า ดีไหม น้ำยางออกดีไหม จะว่าไป มันก็ได้เยอะกว่าเดิม ไม่รู้ว่าเป็นเพราะปุ๋ย หรือ น้ำ หรือ เราเปิดเพิ่ม หรือ เรากรีดต่ำแล้ว ก็ไม่รู้นะ แต่ที่แน่ๆ มันได้ปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม

วันนี้ถือเป็นการทุกทายไปก่อนครับ เรื่องการทำสวนยางพารา มันมีรายละเอียดเยอะมาก แต่จะทยอยนำมาลงไว้ เพื่อบางคนที่สนใจ หรือ มือใหม่อยากเรียนรู้ก็จะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป อย่าลืมบุ๊คมาร์คไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ

0 คน ให้ความคิดเห็นเรื่อง "การทำสวนยางพารา"

แสดงความคิดเห็น