ลดต้นทุนสวนยางพาราที่ ใช้ปุ๋ยผสม : แม่ปุ๋ย


ลดต้นทุนสวนยางพาราที่ ใช้ปุ๋ยผสม : แม่ปุ๋ย


การใช้ปุ๋ยผสม ในสวนยางพาราทำให้เจ้าของสวนสามารถลดต้นทุนด้านปุ๋ยเคมีได้ อย่างน้อย ร้อยละ 40 เลยทีเดียว หากเกษตรกรชาวสวนยาง ได้เรียนรู้เรื่องของการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง ก็จะทำให้ลดต้นทุนซึ่งก็จะเท่ากับว่า ได้เงินมากขึ้นนั้นเอง 

สอนการนำแม่ปุ๋ยมาผสม เป็นปุ๋ย ชั้นเยี่ยม

ทำไมเราจึงพูดถึงเรื่อง การใช้ปุ๋ยผสม ในสวนยางพารา?

เหตุที่เรา พูดถึงเรื่อง การใช้ปุ๋ยผสม ในสวนยางพารา ก็เพราะได้ตระหนักถึงเสมอว่า ยิ่งนานวัน คนไทยเรา ก็ยิ่งนิยมในการปลูกสวนยางเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอยากมีรายได้ที่มั่นคง และ พึ่งพาตนเองได้ นั่นจึงเป็นเหตุในมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และการทำสวนยางนั้น ต้องมีการ ใส่ปุ๋ยเคมี ที่มี N P K ที่ถูกต้องในการบำรุง จึงจะช่วยให้การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี อย่างที่หวังได้ 

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรชาวสวนยาง ที่ซื้อปุ๋ยเคมีบรรจุถึงสำเร็จรูปใช้นั้น จะอยู่ในราคาที่ค่อนข้างแพง ยิ่งสวนใดที่มีจำนวนมากหรือมีต้นยางพารามาก ก็จะยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายด้ายปุ๋ยเคมีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทางออกที่เราจะนำเสนอก็คือ การผสมปุ๋ย เพื่อให้เองดีกว่าอย่างแน่นอน

การใส่ปุ๋ยยางพารา แบ่งออกเป็นกี่ช่วง?

ในที่นี้ เกษตรกรพอเพียง จะขอแบ่งช่วงเวลาในการ การใส่ปุ๋ยยางพารา เป็น  2  ช่วง คือ
- ช่วงที่ 1 นับตั้งแต่การเริ่มลงมือปลูก จนถึง ก่อนการเปิดกรีด (ประมาณก็คือ ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่เจ็ด)
- ช่วงที่ 2 นับตั้งแต่หลังการเปิดกรีดยางแล้ว 
สาเหตุที่เราได้แบ่งออกเป็นช่วงเวลาเช่นนี้ ก็เพราะว่า ปุ๋ย ที่จะใส่ยางพาราที่มีอายุแต่ละช่วงนั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากความต้องการธาตุอาหารในการบำรุงลำต้นและใบของต้นยางพาราแตกต่างกันตามความจำเป็น

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราช่วงก่อนเปิดกรีด ก็คือ ช่วงที่ต้นยางอายุไม่ถึง 7 ปี นั่นเอง (จริงๆ แล้วการเปิดกรีดนั้น ให้วัดขนาดความใหญ่ของต้นยางพาราเป็นหลัก ไม่ได้นับอายุ แต่ก็ประมาณการว่า กว่าจะโตขนาดนั้น อายุยางก็จะประมาณ 7 ปีขึ้นไป ต้องการอ่านเรื่อง การเปิดกรีดยาง <<<------คลิกที่นี่) 

- ช่วงแรก คือช่วงเริ่มปลูก หรือ การใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม โดยทั่วไปแล้วจะใช้ ปุ๋ยรองก้นหลุม ด้วยหินฟอสเฟต 0-3-0 อัตรา 170-200 กรัมต่อต้น และถ้าจะให้ดี ก็ควรจะมีปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยจะทำให้ต้นยางพารา เจริญเติบโตได้ไว้และแข็งแรงมากขึ้น

- ช่วงบำรุงต้นยางพารา โดยทั่วไปแล้วจะใช้กันอยู่ 2 สูตร ซึ่งจะใช้แบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ที่ใช้ปลูกยางพารา คือ ถ้าเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิม ได้แก่ ภาคใต้ และภาคตะวันออก จะใช้สูตร 20-8-20 ส่วน พื้นที่ปลูกใหม่ เช่นในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรใช้สูตร ใช้สูตร 20-10-12 โดยจะใส่ 3 ครั้ง ในช่วง 1-2 ปีแรก และ 2 ครั้งในช่วง 3-6 ปี โดยใส่บริเวณโคนต้นรัศมีมีแนวทรงพุ่มใบแล้วกลบ เหตุที่ให้ใส่ปุ๋ยในบริเวณทรงพุ่มเพราะรากของต้นยางก็ยาวมันไม่เกินทรงพุ่มนั่นเอง

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราช่วง เปิดกรีดยางแล้ว

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพารา ช่วง เปิดกรีดยางแล้ว กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำให้ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ให้ใช้ปุ่ญสูตร 30-5-18 หรือ 29-5-18 แล้วแต่จะหาได้ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 0.5 กิโลกรัม ต่อต้น เช่น ถ้าสวนท่านมีจำนวน 1,500 ต้น จะต้องใช้ปุ๋ย 750 กิโลกรัมต่อครั้ง
-ครั้งแรก คือ ในช่วงต้นฝนของแต่ละปี (750 กิโลกรัม ต่อ 1,500 ต้น)
-ครั้งที่สอง คือ ช่วงปลายฝน (750 กิโลกรัม ต่อ 1,500 ต้น)

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพารา ช่วง เปิดกรีดยางแล้ว ให้ใส่ ปุ๋ยเคมี ระหว่างแถวยาง (โดยให้ห่างจากต้นไปประมาณ 1 เมตร) แล้วกลบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนใส่ปุ๋ย คือ การใส่ปุ๋ยต้องเป็นช่วงเวลาที่ดินมีความชื้นอยู่ เพราะความชื้นจะทำให้ปุ๋ยละลายได้ง่ายและต้นยางสามารถดูดธาตุอาหารจากปุ๋ยขึ้นไปใช้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่

สาเหตุที่ไม่ให้ใส่ปุ๋ยช่วงหน้าแล้งหรือไม่มีความชื้น เพราะปุ๋ยเคมีจะไปเกาะรากต้นยางพาราแล้วดูดเอาน้ำจากต้นยาง จึงเป็นโทษมากกว่าจะเป็นคุณ ให้หลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด

สูตรในการกะขนาดและปริมาณ ปุ๋ยผสม ทำเองมีอย่างละเท่าไร?

ในการนำเอาแม่ปุ๋ย มาทำเป็น ปุ๋ยผสม เพื่อให้เองนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ในที่นี่ ผมขอสมมุติให้ว่า สวนยางเรามี 1,500 ต้น แล้วต้องใช้ ปุ๋ยที่น้ำหนัก 750 กิโลกรัม เพื่อให้ได้ธาตุอาหาร N P K ที่ถูกต้อง ดังนั้น จะประมาณด้วยแม่ปุ๋ย ดังนี้

แม่ปุ๋ย ยูเรีย ( 46 - 0 - 0 ) 458 ก.ก.    หรือ 9.144612476 กระสอบ
แม่ปุ๋ย เดป ( 18 - 46 - 0 ) 82  ก.ก. หรือ 1.630434783
แม่ปุ๋ย โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ ( 0 - 0 - 60 ) 225  ก.ก. หรือ 4.5
รวมน้ำหนักแม่ปุ๋ย 765 ก.ก. หรือ  15 กระสอบกว่านิดหน่อย

จำนวนสารตัวเติม ปกติเขาจะใส่ ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) กำมะถัน(S) ในปริมาณนี้ถ้าต้องการก็ใส่ได้ นิดหน่อยไม่ต้องเยอะ นั่นคือ 13.75 กิโลกรัม หลายคนอาจจะงงว่า "แล้วจะหาได้จากไหน?" คำตอบคือ ส่วนมากผู้ผลิตปุ๋ยมักจะบอกประมาณว่า "ปุ๋ยระเบิดราก" "สูตรเร่งราก" อะไรประมาณนั้น ให้อ่านดูข้างกระสอบ จะมี ธาตุอาหารอยู่ 2-3 อย่าง แต่อย่างน้อยก็จะมี แคลเซียม (Ca) กำมะถัน (S) แค่นี้ก็โอเคแล้วครับ ถ้าทำตามสูตรนะ 

ราคาปุ๋ยผสมเอง แพงหรือถูกกว่ากัน เท่าไร?

ถ้าเทียบราคาปุ๋ยเคมี ส่วนที่เป็นแม่ปุ๋ยที่บ้านผมนะครับ และเทียบกับราคาที่เขาซื้อปุ๋ยสำเร็จ ณ วันเวลาเดียวกัน ดังนี้

สูตรที่เราใช้คือ N P K 30-5-18 จำนวน 750 กิโลกรัม หรือ 15 กระสอบ โดยประมาณ
46 - 0 - 0   กระสอบละ 680  บาท
18 - 46 - 0 กระสอบละ 920  บาท
0 - 0 - 60 กระสอบละ 920  บาท
ราคาปุ๋ยผสมเองจะจ่ายอยู่ที่ 11,754.80 (783.65 บาทต่อกระสอบ)

ปุ๋ยยี่ห้อหนึ่งที่สวนยางใกล้กันใช้ สูตร N P K 20-8-20 (จะเห็นว่า เป็นปุ๋ยสำหรับยางก่อนกรีด และที่สำคัญ "ธาตุอาหาร N P K" น้อยกว่าเราผสมเองด้วย
950 บาท x 15 กระสอบ= 14,250 บาท

สรุปแล้ว จะเป็นราคาดังนี้
-ปุ๋ยผสมเอง จ่ายไป 11,755 บาท
-ปุ๋ยสำเร็จ แถมยังธาตุอาหารน้อยกว่าอีก แต่จ่ายไป 14,250 บาท
ฉะนั้น ถ้าเราผสมปุ๋ยเอง จะประหยัดเงินต่อครั้งเท่ากับ 2,496 บาท เอาไปเป็นค่าขนมให้ลูกได้ ตั้งหลายเดือนแนะ????

ยิ่งใครมี สวนยางขนาดใหญ่ หรือ มีจำนวนต้นยางพารา จำนวนมาก หากใช้แม่ปุ๋ยมาผสมเอง ก็จะ ได้ปุ๋ยผสม ก็จะยิ่งประหยัดต้นทุนไปได้เยอะมากขึ้น และลองคิดถึงระยะยาวดูครับ เนื่องจากนานไป เราต้องใช้ปุ๋ยเยอะขึ้น ก็จะยิ่งแพงขึ้น ผมจึงอยากจะให้พี่น้อง เกษตรกรชาวสวนยางพารา เราหันมาใช้วิธีเดียวกันนี้ เพื่อ ลดต้นทุน ในการทำสวน และหากต้องการให้ผมคำนวณจำนวนแม่ปุ๋ยที่ต้องการใช้ในการผสมก็บอกได้นะครับ ยินดีรับใช้ ขอให้บอก จำนวนปุ๋ยที่ต้องการเป็นกิโลกรัมมาได้เลยแล้วผมจะจัดการให้ ขอให้สนุกกับการทำสวนครับ

๒ สิงหาคม 2557



1 Response to "ลดต้นทุนสวนยางพาราที่ ใช้ปุ๋ยผสม : แม่ปุ๋ย"

  1. เพิ่มเติมครับ

    การผสมปุ๋ยเอง
    การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วม
    ตัวย่อยของปุ๋ยอินทรีย์ ก็ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักทั้งหลายนั่นแหละครับ
    ใช้เป็นตัวเสริม ไม่ใช่ตัวหลักเพราะ ธาตุอาหารมีน้อย

    ลองอ่านเพิ่มเติมที่ เกษตรอินทรีย์ : เพิ่มผลผลิตให้สวนยางพารา

    ตอบลบ